ใส่รองเท้าส้นสูง ระวังโรคปวดเข่า

bg object1bg object2

สำหรับคุณผู้หญิงแล้วเรื่องความสวยงามไม่ต้องพูดถึง อะไรที่จะทำให้สวยสง่า ดูมีราคาเป็นต้องคว้ามาครองทุกที

สำหรับคุณผู้หญิงแล้วเรื่องความสวยงามไม่ต้องพูดถึง อะไรที่จะทำให้สวยสง่า ดูมีราคาเป็นต้องคว้ามาครองทุกที

การสวมรองเท้าส้นสูงถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับคุณผู้หญิง ถ้ายืนอยู่บนที่ราบๆ อาจดูไม่สง่าเท่าไหร่ แต่ถ้าได้ขึ้นไปยืนอยู่บนตึกสูงๆ 2 นิ้วขึ้นไปเมื่อไหร่ จะรู้สึกมั่นใจขึ้นมาทันที แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการสวมใส่รองเท้าส้นสูงเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองนี่แหละ นานวันเข้าอาจเป็นภัยมาทำร้ายร่างกายของคุณเอง 

 

อันตรายจากการสวมรองเท้าส้นสูง 

 

อันตรายที่มองเห็นได้ง่ายๆ จากการสวมรองเท้าส้นสูงเลยก็คือ มีความเสี่ยงต่อการสะดุดหกล้มซึ่งจะส่งผลทำให้ข้อเท้าพลิกหรือแพลงได้ และหากใส่ไปนานๆ มีโอกาสทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดสะโพก เนื่องจากเวลาที่สวมรองเท้าส้นสูงจะต้องเขย่งและเกร็งเท้า ทำให้สรีระร่างกายมีแนวโน้มเหมือนจะล้มไปด้านหน้า ร่างกายก็พยายามปรับตัวโดยการแอ่นหลัง แอ่นสะโพกด้านล่างให้มากขึ้น เพื่อหาจุดที่สมดุลและยืนอยู่บนตึกสูงๆ ได้โดยไม่ล้ม จึงทำให้หลังและสะโพกต้องทำงานหนัก ทำให้เกิดอาการปวด 

 

image1

นอกจากนี้แล้วยังส่งผลต่อข้อต่อที่สำคัญของร่างกายอย่างข้อเข่าอีกด้วย คุณผู้หญิงทั้งหลายเคยรู้สึกเจ็บแปลบ มีเสียงกร๊อบแกร๊บในข้อเข่าเวลาเดินขึ้นลงบันไดด้วยรองเท้าส้นสูงหรือไม่ ถ้าเคยนั่นหมายถึง คุณกำลังมีปัญหากับข้อเข่าเสียแล้ว เพราะลำพังเพียงแค่เดินขึ้นลงบันไดตามปกติข้อเข่าก็ต้องรับแรงกระแทกมากอยู่แล้ว ยิ่งสวมรองเท้าส้นสูงเข้าไปอีกข้อเข่าแทบจะต้องร้องไห้ เพราะต้องรับแรงกระแทกเพิ่มขึ้นไปอีกไม่รู้เท่าไหร่ เมื่อใส่ไปนานๆ จึงทำให้มีอาการปวดข้อเข่าเนื่องจากผิวข้อลูกสะบ้าอักเสบ จากการเสียดสีบ่อยๆ เพราะการใส่รองเท้าส้นสูงทำให้กล้ามเนื้อหน้าขาหย่อนตัว ลูกสะบ้าไม่สมดุล เกิดความไม่มั่นคง และผิวข้อลูกสะบ้าเสื่อมก่อนวัยอันควร

 

 

 

 

การรักษาผิวข้อลูกสะบ้าอักเสบ

 

ทำได้หลายวิธีหากเป็นไม่มากไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ทานยาลดการอักเสบและทำกายภาพบำบัดก็สามารถดีขึ้นได้ แต่หากเป็นมาก รักษาแบบประคับประคองแล้วไม่ดีขึ้นจำเป็นต้องผ่าตัด ก็ต้องดูว่าเกิดการอักเสบที่ตรงไหน สาเหตุเกิดจากอะไร หากเป็นที่เยื่อหุ้มข้อไม่เรียบเกิดการเสียดสีและขัด ต้องทำการผ่าตัดตกแต่งให้เรียบเนียน เพื่อไม่ให้ไปขบขัดในข้อบ่อยๆ หรือบางคนปล่อยทิ้งไว้ให้อักเสบนานๆ จนทำให้ผิวข้อเสื่อม ลอกร่อน เปราะแตก แบบนี้ต้องทำการผ่าตัดตกแต่งเยื่อหุ้มผิวข้อออก และกระตุ้นให้ร่างกายสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาในการรักษานานกว่าที่ร่างกายจะสร้างขึ้นมาใหม่ได้ ซึ่งหมออยากจะบอกว่าอย่าให้ถึงวันนั้นเลย 

 

หัวใจสำคัญของการรักษา คือ การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ และลดการเสี่ยงของการเกิดผิวข้ออักเสบ 

 

 

แผลเล็ก เสียเลือดน้อย

ไม่ต้องผ่าตัดแบบเปิดใช้เข็มขนาดเล็ก 1 มิลลิเมตร เจาะเข้าสู่บริเวณที่มีปัญหาทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก เสียเลือดน้อย

Call Icon02-034-0808

อันตรายแบบนี้เลิกใส่ไปเลยดีไหม 

 

หลายคนอาจบอกว่าถ้ามันจะอันตรายขนาดนี้ควรเลิกใส่ไปเลยดีไหม หรือไม่ก็เปลี่ยนไปใส่รองเท้าที่ไม่มีส้นหรือรองเท้าแตะหูคีบเสียเลย ก็ใช่ว่าจะต้องทำถึงขนาดนั้น และอันที่จริงการใส่รองเท้าไม่มีส้นจะส่งผลทำให้เอ็นร้อยหวายเกิดการอักเสบได้ง่าย เพราะส้นเตี้ยเวลาเดินมากๆ จะทำให้เอ็นด้านหลังส้นเท้าตึง เจ็บได้ ควรเดินทางสายกลางนั่นแหละดีที่สุด ไม่เตี้ยไปหรือไม่สูงจนเกินไปเอาให้พอเหมาะ ที่สำคัญควรหมั่นออกกำลังกาย อย่าปล่อยให้น้ำหนักตัวมาก เพราะจะยิ่งเพิ่มโอกาสสร้างปัญหาให้กับข้อเข่าได้

second image

ดูแลตัวเองอย่างไรหากอยากใส่ส้นสูง 

 

ถ้าจะใส่รองเท้าส้นสูง ควรอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก ไม่ควรเกิน 1-2 นิ้ว หากนั่งอยู่กับโต๊ะหรือเดินอยู่ในที่ทำงานควรมีรองเท้ามาเปลี่ยนจะได้ไม่ต้องเขย่งเกร็งกันไปทั้งวัน เป็นการให้เท้าได้พักบ่อยๆ หมั่นออกกำลังกายบริหารต้นขาเพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงพร้อมใช้งาน กลับมาถึงบ้านพาเท้าไปแช่น้ำอุ่นและนวดเท้าเพื่อผ่อนคลายเสียบ้าง จะทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ดี เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถมีความสุข และมั่นใจกับการใส่รองเท้าส้นสูงได้อย่างสง่างามและปลอดภัยแล้วล่ะครับ 

 

 

 

ด้วยความห่วงใยจาก รพ. เอส  โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและข้อ 

 

อ่านเพิ่มเติม

Share Iconแชร์
Facebook Icon
Line Icon

บริการที่เกี่ยวข้อง

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด (TKA)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด (TKA)

ผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อมรุนแรง และมีอาการปวดเรื้องรังจนเคลื่อนไหวลำบาก กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพื่อฟื้นฟูการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA)

ผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อมในบางส่วน และมีอาการปวดเรื้องรัง บริเวณด้านในหรือด้านนอกข้อเข่า แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเฉพาะส่วนที่ได้รับความเสียหาย เพื่อฟื้นฟูการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น   
ซ่อมแซมหมอนรองกระดูกข้อเข่า (Meniscus Repair)

ซ่อมแซมหมอนรองกระดูกข้อเข่า (Meniscus Repair)

การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บที่หมอนรองกระดูกข้อเข่า ซึ่งอาจเกิดจากการหกล้ม หรือการใช้งานข้อเข่าในลักษณะซ้ำๆ จนเกิดการฉีกขาด การซ่อมแซมจะช่วยให้หมอนรองกระดูกข้อเข่ากลับมาทำหน้าที่ได้ดีขึ้น ลดอาการปวด และป้องกันการเกิดปัญหาข้อเข่าเสื่อมในระยะยาว  
ฉีดเกล็ดเลือดรักษาข้อเข่า (PRP)

ฉีดเกล็ดเลือดรักษาข้อเข่า (PRP)

  การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP) เป็นการรักษาข้อเข่าผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมในระยะเริ่มแรก หรือการบาดเจ็บที่ข้อเข่า โดยใช้เกล็ดเลือดจากตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งมีความเข้มข้นสูง เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอกลับมาแข็งแรงขึ้น หรือ การบาดเจ็บที่ข้อเข่า
ฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า

ฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า

ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในระยะแรกมักมีอาการข้อเข่าฝืด ใช้งานไม่สะดวก หรือมีอาการปวดและบวมเป็นๆ หายๆ เมื่อพักการใช้งานข้อเข่าจะทุเลา แต่เมื่อใช้งานมากขึ้นอาการปวดจะกลับมา การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าเป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสำหรับข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก โดยช่วยเพิ่มการหล่อลื่นในข้อเข่า ลดการเสียดสีที่ทำให้เกิดอาการปวด    
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก  (Total Hip Arthroplasty)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก (Total Hip Arthroplasty)

ข้อสะโพกเสื่อม ที่เกิดจากการสึกหรอของกระดูกอ่อนภายในข้อ ที่เกิดจากการใช้งานสะโพกเป็นเวลานาน การบาดเจ็บเรื้อรัง หรือโรคบางชนิด เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ รวม ถึงปัจจัยด้านอายุ เมื่อข้อสะโพกเสื่อม ผู้ป่วยมักมีอาการปวดบริเวณ ขาหนีบ หรือ ต้นขาด้านหน้า โดยอาการจะรุนแรงขึ้นขณะเคลื่อนไหว ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน  
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกบางส่วน

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกบางส่วน

พฤติกรรมการใช้งานข้อสะโพก เช่น การขึ้นลงบันไดบ่อย ยกของหนัก หรือนั่งยองซ้ำ ๆ ร่วมกับภาวะกระดูกพรุน หรืออุบัติเหตุ ล้วนเป็นตัวเร่งให้ข้อสะโพกเสื่อมได้เร็วขึ้น ในบางกรณีที่มีความเสียหายเฉพาะบางส่วนของข้อสะโพก เช่น กระดูกต้นขาหักใกล้ข้อ หรือข้อสะโพกเสื่อมบางจุด การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกบางส่วน จะช่วยลดอาการปวด และให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวได้ดียิ่งขึ้น  
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อไหล่เทียมแบบกลับด้าน

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อไหล่เทียมแบบกลับด้าน

อาการไหล่ติด ยกแขนไม่สุด หรือรู้สึกเจ็บลึก ๆ ภายในหัวไหล่ โดยเฉพาะเมื่อต้องเอื้อม หวีผม หรือใส่เสื้อผ้า ในบางรายอาการหนักถึงขั้นยกแขนไม่ได้เลย ทั้งที่กล้ามเนื้อแขนยังดูปกติดี ภาวะนี้มักเกิดจาก เส้นเอ็นรอบข้อไหล่ฉีกขาดรุนแรง ร่วมกับ ความเสื่อมของข้อไหล่ ซึ่งอาจมาจากอายุที่มากขึ้น การใช้งานซ้ำ ๆ หรืออุบัติเหตุ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อไหล่เทียมแบบกลับด้าน จึงกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการรักษาและช่วยในการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น  
Icon

ปรึกษาทีมงาน

ผู้เชี่ยวชาญตอนนี้

โทรเลย

Call Icon02-034-0808
โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ จอยท์ | S Spine & Joint Hospital

เลขที่ 2102/9 อาคาร A ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310

โทร : 02-034-0808
Facebook IconLine IconTiktok IconYoutube IconInstagram Icon

Copyright © 2025 S Spine and Joint Hospital. All right reserved