PSLD เทคนิครักษาโรคปวดหลังใหม่ล่าสุด แผลเล็ก เจ็บตัวน้อย เทคโนโลยีที่ทันสมัย และปลอดภัย

bg object1bg object2

อาการปวดหลังปวดเอว มักก่อให้เกิดความรำคาญและทรมานต่อร่างกาย บางคนไม่สามารถทำงานหรือใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข อาการที่พบบ่อยและที่เป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวดคือโรคโพรงประสาทส่วนเอวตีบแคบ (Lumbar spinal stenosis)

อาการปวดหลังปวดเอว มักก่อให้เกิดความรำคาญและทรมานต่อร่างกาย บางคนไม่สามารถทำงานหรือใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข อาการที่พบบ่อยและที่เป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวดคือโรคโพรงประสาทส่วนเอวตีบแคบ (Lumbar spinal stenosis)

โรคโพรงประสาทส่วนเอวตีบแคบ

 

คือภาวะที่มีการตีบแคบลงของโพรงที่เป็นช่องว่างตลอดความยาวภายในกระดูกสันหลัง ที่เรียกกันว่าโพรงกระดูกสันหลังหรือโพรงประสาท (Spinal canal) ซึ่งเป็นช่องทางผ่านของเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal cord) การตีบแคบอาจเกิดเพียงระดับเดียวหรือหลายระดับของโพรงกระดูกสันหลังก็ได้ ซึ่งช่องโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ อาจเกิดจากภาวะกระดูกหนาตัวขึ้น, เอ็นหนาตัวขึ้น, หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน (ปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกสันหลัง), กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis), มีอาการขาชา หรือมีภาวะต่างๆ ดังกล่าวเกิดขึ้นร่วมกัน  

 

 

โพรงประสาทตีบเเคบ สาเหตุ ที่พบได้บ่อย คือ  

 

1. ความผิดปกติแต่กำเนิดของโพรงกระดูกสันหลัง  

2. การเสื่อมตามอายุ  

3. โรคกระดูกพรุน  

4. โรคกระดูกสันหลังเสื่อม  

 

 

อาการของโรคโพรงประสาทตีบแคบ   

 

โรคโพรงประสาทส่วนเอวตีบแคบมักทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดหลังโดยอาจพบร่วมกับ อาการปวดร้าวลงขาข้างเดียวหรือสองข้าง เดินแล้วมีกล้ามเนื้อขาอ่อนแรงหรือปวดขา อาการขาชา ปวดน่องจนต้องหยุดเดินเป็นพักๆ ซึ่งเกิดจากเส้นประสาทเอวถูกกดทับ หรือภาวะขาดเลือดของเส้นประสาท และพบบ่อยว่าทำให้เกิดอาการเดินลำบาก ส่งผลถึงการดำรงชีวิตประจำวันได้  

 

 

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์  

 

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังล่างร้าวลงขาจนส่งผลกระทบต่อการเดิน หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เดินนานไม่ได้ หยุดเดินบ่อยๆ หรือเดินได้ระยะทางสั้นลง หรือมีกล้ามเนื้อขาลีบ ขาชา และมีปัญหาเรื่องการขับถ่าย  

 

นอกจากนี้ ถ้ามีอาการปวดบริเวณด้านหลังขาร่วมกับมีอาการไข้ หรือน้ำหนักลดมาก เบื่ออาหาร ปวดมากขณะนอนพัก หรือปวดช่วงกลางคืนอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้ว่าอาจมีปัญหาที่มาจากการติดเชื้อหรือจากโรคมะเร็งของกระดูกสันหลัง ผู้ป่วยจึงควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังโดยด่วน  

 

 

ใครบ้างมีโอกาสเป็นโรคนี้  

 

  • คนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป  

  • คนอ้วน  

  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน  

  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน  

 

การตรวจวินิจฉัยอาการปวดร้าวลงขา  

 

แพทย์จะวินิจฉัยโรคโพรงประสาทส่วนเอวตีบแคบ โดยการตรวจร่างกายและทำการตรวจ x-ray เพื่อประเมินโครงสร้างว่ามีความผิดปกติที่กระดูกสันหลังจริงหรือไม่ และตรวจด้วยเครื่อง MRI เพื่อประเมินความผิดปกติของหมอนรองกระดูกสันหลัง ช่องไขสันหลัง และเส้นประสาทว่ามีการถูกกดทับหรือไม่   

 

 

การรักษา   

 

วิธีการรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังเอวตีบแคบ ประกอบด้วย การใช้ยา การทำกายภาพบำบัด และการผ่าตัด  

 

⭐ การรักษาด้วยยา  

 

  • ยาต้านการอักเสบ : เพื่อลดอาการปวดที่เล็กน้อยและปานกลาง ซึ่งผลข้างเคียงของยา เช่น ปวดท้อง แผลในกระเพาะอาหาร ปัญหาทางตับ และไต  

  • ยาแก้ปวด : ใช้เพื่อลดอาการปวด เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol)  

  • ยาคลายกล้ามเนื้อ : ใช้เพื่อลดการหดเกร็งตึงตัวของกล้ามเนื้อ อาการปวดที่เกิดจากการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อก็จะลดลงได้  

  • ใช้ยาหลายๆ ชนิดร่วมกัน : เพื่อลดอาการปวดและลดการอักเสบ เช่น ยากลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) ร่วมกับยาคลายกล้ามเนื้อ  

  • ยาต้านอาการซึมเศร้าบางชนิด (ที่ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาท) : เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ  

  • ยากันชักบางชนิด (ที่ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาท) : เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ  

 

 

⭐ การทำกายภาพบำบัด   

 

เพื่อรักษาอาการปวด เช่น การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยการใช้เครื่อง Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation (TENS) การนวด การใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ การฝังเข็ม (Acupuncture) การดึงขยายข้อต่อกระดูกสันหลัง (Traction) และการฝึกกล้ามเนื้อหลังและขาให้มีความแข็งแรง เพื่อให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดี  

 

 

⭐ การผ่าตัด   

 

เมื่อการใช้ยาและการทำกายภาพบำบัดไม่ได้ผล หรืออาการที่เกิดขึ้นส่งผลรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวันและเสียการควบคุมระบบขับถ่าย โดยจุดประสงค์ของการผ่าตัดเพื่อลดการกดทับต่อเส้นประสาทและไขสันหลัง แนวทางการรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการและการวินิจฉัยของแพทย์ ด้วยเทคนิคพิเศษเฉพาะทางของโรงพยาบาลเอส สไปน์ คือการส่องกล้องรักษาโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบด้วยเทคนิค PSLD (Percutaneous Stenoscopic Lumbar Decompression) แพทย์จะสอดกล้องเอ็นโดสโคป (Endoscopic) ผ่านการเปิดแผลขนาด 0.5 ซม. เข้าไปยังเส้นประสาทส่วนที่ถูกกดทับอยู่โดยตรง โดยไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก กล้องเอ็นโดสโคปจะช่วยให้แพทย์มองเห็นเส้นประสาทได้อย่างชัดเจน สามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่มีการกดทับเส้นประสาทออกได้ ไม่ว่าจะเป็นการกดทับจากหมอนรองกระดูกปลิ้นหรือจากการบีบรัดจากกระดูกข้อต่อและเส้นเอ็นก็ตาม ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที จากนั้นผู้ป่วยสามารถลุกเดินได้ทันทีภายหลังการผ่าตัด  

 

แผลเล็ก เสียเลือดน้อย

ไม่ต้องผ่าตัดแบบเปิดใช้เข็มขนาดเล็ก 1 มิลลิเมตร เจาะเข้าสู่บริเวณที่มีปัญหาทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก เสียเลือดน้อย

Call Icon02-034-0808

ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้  

 

  • แผลผ่าตัดขนาดเล็กมากเพียง 0.5 เซนติเมตร  

  • สูญเสียเลือดน้อย  

  • ฟื้นตัวเร็ว หลังจากผ่าตัดสามารถลุกขึ้นได้  

  • ความปลอดภัยสูง  

  • ความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ  

  • นอนโรงพยาบาลเพียง 1 คืนก็กลับบ้านได้  

  • ค่าใช้จ่ายน้อยลงเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยแบบเดิม  

  • ลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีที่อยู่รอบบริเวณผ่าตัด  

  • หลังเข้ารับการรักษาสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ 

 

second image

 

 

การดูแลตนเองและการป้องกัน   

 

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงว่าจะเป็นโรคนี้สามารถดูแลและป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้ ดังนี้  

 

  • ควบคุมน้ำหนักเพื่อลดการรับน้ำหนักของกระดูกสันหลัง  

  • ห้ามยกของหนัก  

  • หลีกเลี่ยงการก้มๆ เงยๆ และการนั่งทำงานในท่าหนึ่งท่าใดนานเกิน 2 ชั่วโมง  

  • ปรับพฤติกรรมการใช้หลังให้ถูกวิธี  

  • ทำกายภาพบำบัดต่อเนื่อง  

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน แต่ต้องหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก  

 

 

หากท่านใดที่กำลังมีอาการปวดหลัง หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังและยังไม่ได้เข้ารับการรักษา สามารถปรึกษาเราเพื่อประเมินแนวทางการรักษา เพื่อการหายอย่างยั่งยืน ทางโรงพยาบาลมีเทคนิคและเครื่องมือการรักษาที่ทันสมัยครบวงจร 

 

อ่านเพิ่มเติม

Share Iconแชร์
Facebook Icon
Line Icon

บริการที่เกี่ยวข้อง

PSCD

PSCD

อาการปวดคอร้าวลงแขน เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทในบริเวณคอถูกกดทับ ทำให้เกิดความเจ็บปวดร้าวไปยังแขน ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาท พบว่ามีอายุน้อยลงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเช่น การใช้คอมพิวเตอร์ หรือการก้มดูโทรศัพท์มือถือในท่าเดิมเป็นเวลานาน การนั่งท่าที่ไม่ถูกต้อง และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ  
PSLD

PSLD

อาการปวดหลังร้าวลงขา เกิดจากการกดทับเส้นประสาทในบริเวณหลังส่วนล่าง ทำให้เกิดความเจ็บปวดที่ร้าวไปยังขา มักพบมากในวัยทำงาน ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมที่ส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดการเสื่อม เช่น การนั่ง หรือยืนในท่าเดิมนานเกินไป การยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้อง ประสบอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลัง และการใช้ร่างกายที่มีแรงกระแทกสูง  
LASER

LASER

โรคหมอนรองกระดูกปลิ้น (Herniated Disc) คือภาวะที่ หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติและอาจกดทับเส้นประสาท พบบ่อยบริเวณ กระดูกสันหลังส่วนเอว (L4-L5, L5-S1) เกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกจากอายุที่มากขึ้น การนั่งนานๆ  ยกของหนักผิดท่า หรือ อุบัติเหตุ  
Full Endo TLIF

Full Endo TLIF

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือ Spondylolisthesis เกิดจากกระดูกสันหลังข้อใดข้อหนึ่ง เลื่อนออกจากแนวกระดูกปกติไปทางด้านหน้า มักเกิดที่กระดูกสันหลังส่วนล่าง โดยเฉพาะบริเวณ L5-S1  พบบ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมสภาพ ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังอ่อนแอลงและเกิดการเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม  
Endoscopic ACDF

Endoscopic ACDF

การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่มีภาวะหมอนรองกระดูกคอเสื่อมรุนแรง หรือ ได้หมอนรองกระดูกสันหลังได้รับความเสียหาย จนสูญเสียความสามารถในการรองรับแรงกระแทก หรือ ปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาท จนมีอาการปวดร้าวลงแขนและมือ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน    
ฉีด Cement

ฉีด Cement

กระดูกสันหลังแตก หัก ยุบ เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังอย่างรุนแรง มักเกิดขึ้นจากการเสื่อมของกระดูก  และ อุบัติเหตุ หรือ การบาดเจ็บที่รุนแรง ทำให้เกิดความเจ็บปวดและมีผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างมาก  พบในคนไข้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และมีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย  
ฉีดยาบล็อกเส้นประสาท SNRB

ฉีดยาบล็อกเส้นประสาท SNRB

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังจากการอักเสบของโพรงประสาทและรากประสาท ซึ่งอาจเกิดจาก หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ ส่งผลให้ปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาทแต่ยังไม่รุนแรง การฉีดยาเข้าโพรงประสาท (SNRB)  เป็นทางเลือกที่ช่วย ลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดได้  
Icon

ปรึกษาทีมงาน

ผู้เชี่ยวชาญตอนนี้

โทรเลย

Call Icon02-034-0808
โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ จอยท์ | S Spine & Joint Hospital

เลขที่ 2102/9 อาคาร A ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310

โทร : 02-034-0808
Facebook IconLine IconTiktok IconYoutube IconInstagram Icon

Copyright © 2025 S Spine and Joint Hospital. All right reserved