เชื่อมกระดูกสันหลัง กรณีกระดูกเคลื่อน โดยเทคนิคบอบช้ำน้อย

bg object1bg object2

"การรักษากระดูกสันหลังเคลื่อน ด้วยเทคนิคบอบช้ำน้อย"

"การรักษากระดูกสันหลังเคลื่อน ด้วยเทคนิคบอบช้ำน้อย"

กระดูกสันหลังเคลื่อนคืออะไร? 

 

กระดูกสันหลังเคลื่อน หมายถึงภาวะที่กระดูกสันหลังข้อหนึ่งเคลื่อนไปด้านหน้ามากกว่าปกติ มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะบริเวณเอวข้อที่ 4 ต่อข้อที่ 5 เนื่องจากเป็นจุดที่รับน้ำหนักมากและมีการเคลื่อนไหวบ่อย 

 

อาการของกระดูกสันหลังเคลื่อน 

 

  • ปวดหลัง 

  • ปวดร้าวลงขา (อาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง) 

  • ขาชาและอ่อนแรง (ในกรณีรุนแรง) 

 

 

สาเหตุของกระดูกสันหลังเคลื่อน 

 

  • การใช้งานหลังผิดวิธี 

  • กระดูกสันหลังอ่อนแอ 

  • ความเสื่อมของกระดูก (พบบ่อยในผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป) 

  • หมอนรองกระดูกเสื่อม ทำให้ข้อต่อรับแรงกดมากขึ้น 

 

image1

การรักษากระดูกสันหลังเคลื่อนด้วยเทคนิคบอบช้ำน้อย 

 

วิธีการรักษาหลักคือการเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของข้อและป้องกันไม่ให้เคลื่อนมากขึ้น พร้อมกับนำส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก โดยใช้เทคนิคที่ก่อให้เกิดการบอบช้ำน้อย ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ : 

 

  1. ใช้สกรูแบบเจาะรู (Percutaneous Screw) ในการยึด 

  2. ใช้เครื่องนำทางพิเศษในการใส่สกรู 

  3. นำส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก 

  4. ใส่หมอนรองกระดูกเทียม (PEEK) ผ่านแผลขนาดเล็ก 

 

ข้อดีของเทคนิคนี้ 

 

  • แผลมีขนาดเล็ก 

  • ไม่ทำลายกล้ามเนื้อ 

  • ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว 

 

แผลเล็ก เสียเลือดน้อย

ไม่ต้องผ่าตัดแบบเปิดใช้เข็มขนาดเล็ก 1 มิลลิเมตร เจาะเข้าสู่บริเวณที่มีปัญหาทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก เสียเลือดน้อย

Call Icon02-034-0808

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์? 

 

หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว: 

 

  • ปวดหลังเป็นประจำ 

  • มีอาการชาบริเวณที่เส้นประสาทถูกกดทับ 

  • ปวดมากขึ้นเมื่อเดินต่อเนื่องเป็นเวลานาน 

  • ปวดหลังรุนแรงจนรู้สึกเดินต่อไม่ไหว 

 

ที่โรงพยาบาล เอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีทันสมัยในการรักษากระดูกสันหลังเคลื่อน ด้วยเทคนิคบอบช้ำน้อย ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วและกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ 

 

 

อย่าปล่อยให้อาการปวดหลังรบกวนคุณภาพชีวิต หากมีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง การรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจรุนแรงในอนาคตได้ 

 

อ่านเพิ่มเติม

Share Iconแชร์
Facebook Icon
Line Icon

บริการที่เกี่ยวข้อง

PSCD

PSCD

อาการปวดคอร้าวลงแขน เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทในบริเวณคอถูกกดทับ ทำให้เกิดความเจ็บปวดร้าวไปยังแขน ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาท พบว่ามีอายุน้อยลงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเช่น การใช้คอมพิวเตอร์ หรือการก้มดูโทรศัพท์มือถือในท่าเดิมเป็นเวลานาน การนั่งท่าที่ไม่ถูกต้อง และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ  
PSLD

PSLD

อาการปวดหลังร้าวลงขา เกิดจากการกดทับเส้นประสาทในบริเวณหลังส่วนล่าง ทำให้เกิดความเจ็บปวดที่ร้าวไปยังขา มักพบมากในวัยทำงาน ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมที่ส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดการเสื่อม เช่น การนั่ง หรือยืนในท่าเดิมนานเกินไป การยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้อง ประสบอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลัง และการใช้ร่างกายที่มีแรงกระแทกสูง  
LASER

LASER

โรคหมอนรองกระดูกปลิ้น (Herniated Disc) คือภาวะที่ หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติและอาจกดทับเส้นประสาท พบบ่อยบริเวณ กระดูกสันหลังส่วนเอว (L4-L5, L5-S1) เกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกจากอายุที่มากขึ้น การนั่งนานๆ  ยกของหนักผิดท่า หรือ อุบัติเหตุ  
Full Endo TLIF

Full Endo TLIF

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือ Spondylolisthesis เกิดจากกระดูกสันหลังข้อใดข้อหนึ่ง เลื่อนออกจากแนวกระดูกปกติไปทางด้านหน้า มักเกิดที่กระดูกสันหลังส่วนล่าง โดยเฉพาะบริเวณ L5-S1  พบบ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมสภาพ ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังอ่อนแอลงและเกิดการเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม  
Endoscopic ACDF

Endoscopic ACDF

การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่มีภาวะหมอนรองกระดูกคอเสื่อมรุนแรง หรือ ได้หมอนรองกระดูกสันหลังได้รับความเสียหาย จนสูญเสียความสามารถในการรองรับแรงกระแทก หรือ ปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาท จนมีอาการปวดร้าวลงแขนและมือ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน    
ฉีด Cement

ฉีด Cement

กระดูกสันหลังแตก หัก ยุบ เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังอย่างรุนแรง มักเกิดขึ้นจากการเสื่อมของกระดูก  และ อุบัติเหตุ หรือ การบาดเจ็บที่รุนแรง ทำให้เกิดความเจ็บปวดและมีผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างมาก  พบในคนไข้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และมีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย  
ฉีดยาบล็อกเส้นประสาท SNRB

ฉีดยาบล็อกเส้นประสาท SNRB

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังจากการอักเสบของโพรงประสาทและรากประสาท ซึ่งอาจเกิดจาก หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ ส่งผลให้ปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาทแต่ยังไม่รุนแรง การฉีดยาเข้าโพรงประสาท (SNRB)  เป็นทางเลือกที่ช่วย ลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดได้  
Icon

ปรึกษาทีมงาน

ผู้เชี่ยวชาญตอนนี้

โทรเลย

Call Icon02-034-0808
โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ จอยท์ | S Spine & Joint Hospital

เลขที่ 2102/9 อาคาร A ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310

โทร : 02-034-0808
Facebook IconLine IconTiktok IconYoutube IconInstagram Icon

Copyright © 2025 S Spine and Joint Hospital. All right reserved