ไขข้อข้องใจ ! หมอนรองกระดูกยื่น และกระดูกสันหลังเคลื่อน รักษาต่างกัน?

bg object1bg object2

ปวดหลังเหมือนกัน แต่การรักษาต่างกัน แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังไขข้อข้องใจ สภาวะหมอนรองกระดูกยื่น และกระดูกสันหลังเคลื่อน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเหมือนกันแต่การรักษาจะต่างกัน ซึ่งการหาสาเหตุของโรคจะนำไปสู่การรักษาที่ตรงจุด

ปวดหลังเหมือนกัน แต่การรักษาต่างกัน แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังไขข้อข้องใจ สภาวะหมอนรองกระดูกยื่น และกระดูกสันหลังเคลื่อน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเหมือนกันแต่การรักษาจะต่างกัน ซึ่งการหาสาเหตุของโรคจะนำไปสู่การรักษาที่ตรงจุด

นพ.ธนวัฒน์ อุณหโชค  แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส  เผยว่า ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน หรือ Lumbar spondylolisthesis เป็นภาวะที่มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังข้อหนึ่งไปด้านหน้า หรือด้านหลังมากกว่าปกติ ส่วนมากมักพบบริเวณกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4 และข้อที่ 5 เนื่องจากข้อกระดูกสันหลังส่วนนี้จะต้องแบกรับน้ำหนักส่วนใหญ่ของร่างกาย 

ความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันออกไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการปวดหลังบริเวณส่วนล่าง และจะมีอาการแย่ลงหลังการออกกำลังกาย โดยเฉพาะเมื่อมีการบริหารกระดูกบั้นเอว และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย โดยอาการจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่   

 

* อาการที่บริเวณหลัง จะปวดหลังเรื้อรัง และมักเกิดในขณะที่มีการเคลื่อนไหวของหลังที่มีการขยับหลังมาก เช่น การก้ม เงย หรือเดิน    

 

* อาการที่ขา ปวด ชา ล้า หนักที่บริเวณสะโพกหรือต้นขา 2 ข้าง อาการจะเป็นมากขณะเดิน และจะดีขึ้นเมื่อมีการก้มโค้งหลังหรือได้นั่งพัก ผู้ป่วยบางรายจะรู้สึกว่าระยะทางที่เดินได้จะสั้นลงเรื่อยๆ หากโพรงประสาทตีบแคบมากอาจทำให้การควบคุมระบบขับถ่ายเสียไปได้ 

 

ขณะที่ สภาวะหมอนรองกระดูกยื่น เกิดจากหมอนรองกระดูกที่อยู่ระหว่างกระดูกทั้ง 2 ข้อปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาทไขสันหลังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดคอหรือหลัง หากมีการกดทับมากอาจเสี่ยงต่อความพิการได้ 

 

โดยอาการที่แสดงอย่างเด่นชัด คือ อาการปวด ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายก็จะมาด้วยตำแหน่งของการปวดที่ต่างกันไป เช่น ปวดหลังล่าง ปวดบริเวณบั้นเอว หรือสะโพกร้าวลงขา ชา หรือเสียวเหมือนไฟช็อตร้าวลงขา ปวดคอ แขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง มีปัญหาขณะก้มยกของ หรือทรงตัว หากเส้นประสาทถูกกดทับนานจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และระบบขับถ่ายมีปัญหา 

 

แม้ว่าอาการของทั้งสองโรคนี้จะดูคล้ายกันจนแทบแยกไม่ออก แต่ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์เนิร์ฟ มีวิธีการวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกยื่น หรือโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ได้อย่างแม่นยำ  โดยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังจะทำการตรวจประเมินร่างกายเบื้องต้น ซักประวัติผู้ป่วยร่วมกับการทำ X-ray และการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI เพื่อให้แพทย์นำมาใช้ในการวินิจฉัยอาการและยืนยันความผิดปกติที่เกิดขึ้น ตลอดจนสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำ และตรงจุด  

 

การรักษาหมอนรองกระดูกยื่น เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดหลังและรับประทานยาแก้ปวดนานเกิน 1 เดือนแล้วและอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยกล้องเอ็นโดสโคป หรือการเจาะรูส่องกล้อง ด้วยเทคนิค PSLD (Percutaneous Stenoscopic Lumbar Decompression) ที่บริเวณหลัง หรือ เทคนิค PSCD (Percutaneous Stenoscopic Cervical Decompression) ที่บริเวณคอ ซึ่งทั้งสองเทคนิคนี้จะใช้อุปกรณ์ที่มีเลนส์กำลังขยายสูง ที่ติดอยู่ที่บริเวณปลายกล้องเอ็นโดสโคป เปรียบเสมือนดวงตาของแพทย์ ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน แม่นยำ และปลอดภัย สามารถรักษาเฉพาะส่วนที่มีปัญหาโดยที่ไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก ทำให้แผลเล็ก เจ็บน้อย ปลอดภัย ฟื้นตัวเร็ว การรักษาด้วยวิธี MIS-Spine นี้จึงเป็นเรื่องง่ายและเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วย เพราะพักฟื้นเพียงแค่ 1 คืนก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ 

 

ปัจจุบันการรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือกระดูกทับเส้นด้วยเทคนิคการยึดน็อตแบบ TLIF คือ การเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง เพื่อหยุดการเคลื่อนของกระดูกสันหลังของผู้ป่วย และเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังเทียมในผู้ป่วยที่หมอนรองกระดูกเสื่อม ซึ่งในสมัยก่อนจะต้องทำการผ่าตัดแบบเปิดแผล หลังจากนั้นวงการแพทย์ได้มีการพัฒนามาทำการผ่าตัดด้วยเทคนิค MIS TLIF ด้วยการใส่ท่อแล้วเลาะกล้ามเนื้อออกบางส่วน หลังจากนั้นจึงใส่หมอนรองกระดูกเทียมเข้าไป แต่ล่าสุดด้วยเทคโนโลยีใหม่ทำให้การรักษาโรคกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีต่อผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถลดอาการปวดแผลของผู้ป่วยลงเมื่อเทียบกับการรักษาแบบเดิมหลายเท่า ด้วยเทคนิค Full Endo TLIF (Full Endoscopic TLIF) คือ การใช้กล้องเอ็นโดสโคปเพื่อใส่หมอนรองกระดูกเทียมเข้าไป และทำการเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Interbody Fusion) ด้วยสกรูแบบเจาะรู (Percutaneous Screw) ซึ่งวิธีนี้จะตัดกล้ามเนื้อน้อยที่สุด ทำลายโครงสร้างของกระดูกสันหลังน้อยมาก ความเสืี่ยงต่ำ และแตกต่างจากเทคนิคเดิม อีกทั้งยังสามารถลดขนาดของบาดแผล และให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น [ตัวแบ่งการตัดข้อความ] 

 

ทั้งนี้การเจาะและใช้อุปกรณ์ร่วมกันภายในรูเดียว หรือแบบ Full Endo TLIF (Full Endoscopic TLIF) ซึ่งวิธีนี้จะใช้อุปกรณ์กล้องที่มีความพิเศษสูง โดยมีช่องสำหรับใส่เครื่องมือเพื่อเข้าไปทำการรักษา โดยการนำหมอนรองกระดูกที่มีปัญหาออก และยังสามารถเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมได้ภายในรูเดียว โดยที่เครื่องมือนั้นไม่เข้าไปทำลายกล้ามเนื้อโดยตรง บอบช้ำน้อยกว่าการใช้อุปกรณ์แบบ 2 รู และการรักษาด้วยวิธีนี้ ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นเครื่องมือในการรักษาตลอดเวลา และใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2 ชั่วโมง หลังทำการรักษาผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก และภายใน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยสามารถเดินได้คล่องขึ้น ซึ่งการรักษาด้วยเทคนิค Full Endo TLIF (Full Endoscopic TLIF) นี้โรงพยาบาลเอส   ถือเป็นรายแรกในประเทศไทย ที่ใช้เทคนิคนี้แบบเต็มรูปแบบ เพราะเนื่องจากจำเป็นต้องตัดโครงสร้างภายใน โอกาสที่แพทย์จะทำได้จะต้องเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ที่สูงในเรื่องโรคกระดูกสันหลัง ซึ่งหาได้น้อยมาก แต่สำหรับที่โรงพยาบาลเอส ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีจุดแข็งที่โดดเด่นและเด่นชัด คือ มีทีมแพทย์ และพยาบาลเฉพาะทาง โรคปวดหลังที่เกิดจากกระดูกสันหลังและระบบประสาทโดยเฉพาะ ทำให้รู้ลึก รู้จริงและเชี่ยวชาญ สามารถรักษาได้อย่างตรงจุด ประกอบกับการนำเอานวัตกรรมสมัยใหม่จากทั่วโลกเข้ามาช่วยในการรักษา เพื่อตอบโจทย์ผู้ป่วยที่มีเวลาน้อย การฟื้นตัวทำได้เร็วขึ้น ไม่ทรมาน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่กลัวการผ่าตัด 

 

 

โรงพยาบาลเอส ปรึกษา  โทร 02 034 0808 

 

### 

 

ขอขอบคุณที่กรุณาเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ 

 

ภูวนาท เช้าวรรณโณ 092 270 9228 

 

 

 

 

image1

แผลเล็ก เสียเลือดน้อย

ไม่ต้องผ่าตัดแบบเปิดใช้เข็มขนาดเล็ก 1 มิลลิเมตร เจาะเข้าสู่บริเวณที่มีปัญหาทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก เสียเลือดน้อย

Call Icon02-034-0808

Read More

Share IconShare
Facebook Icon
Line Icon

Related Services

Posterior Cervical Endoscopic Discectomy (PSCD)

Posterior Cervical Endoscopic Discectomy (PSCD)

Neck pain radiating down the arm is typically caused by nerve compression in the cervical spine. Increasingly, younger individuals are being diagnosed with cervical disc herniation due to daily lifestyle habits such as prolonged computer use, looking down at mobile phones for extended periods, poor posture, and injury from accidents. 
Posterior Spinal Lumbar Discectomy (PSLD)

Posterior Spinal Lumbar Discectomy (PSLD)

Lower back pain radiating down the leg often stems from nerve compression in the lumbar spine. This condition is common among working adults and the elderly, as well as those with habits that accelerate spinal degeneration—such as prolonged sitting or standing in the same position, improper lifting techniques, spinal injuries from accidents, and high-impact physical activities. 
LASER

LASER

A herniated disc occurs when an intervertebral disc slips out of its normal position and may press on nearby nerves. This condition commonly affects the lumbar spine, particularly at levels L4-L5 and L5-S1. It typically results from age-related disc degeneration, prolonged sitting, improper lifting techniques, or spinal trauma from accidents. 
Full Endo TLIF

Full Endo TLIF

Spondylolisthesis is a condition in which one vertebra slips forward out of its normal alignment. This commonly occurs in the lower spine, especially at the L5-S1 level. It is frequently found in older adults due to degenerative disc disease, where the weakening of spinal discs leads to instability and vertebral displacement. 
Endoscopic ACDF

Endoscopic ACDF

Endoscopic ACDF is a surgical procedure used to treat severe cervical disc degeneration or disc herniation in the neck. When the disc becomes too damaged to absorb shock or herniates and compresses the spinal nerves, it can cause radiating pain down the arms and hands, significantly affecting daily life. 
Cement Injection

Cement Injection

Vertebral fractures or collapses are serious spinal conditions that typically occur due to bone degeneration, accidents, or severe trauma. These injuries can lead to significant pain and impair mobility. They are mostly seen in patients aged 50 and above, especially those with underlying osteoporosis.
Nerve Root Block Injection (SNRB)

Nerve Root Block Injection (SNRB)

Patients suffering from back pain caused by inflammation of the nerve root or foramen—often due to herniated discs or spinal joint inflammation—may experience radiating pain along the nerve pathway, even if the condition is still in its early stages. In such cases, a Selective Nerve Root Block (SNRB) can help reduce inflammation and alleviate pain effectively.
Icon

Consult the Team

Experts Now

Call Now

Call Icon02-034-0808
โรงพยาบาลเอส สไปน์ | S Spine Hospital

No. 523/1 Praditmanutham Road, Wang Thonglang Subdistrict, Wang Thonglang District, Bangkok 10310

Call : 02-034-0808
Facebook IconLine IconTiktok IconYoutube IconInstagram Icon

Copyright © 2025 S Spine and Joint Hospital. All right reserved