ไขข้อข้องใจ ! หมอนรองกระดูกยื่น และกระดูกสันหลังเคลื่อน รักษาต่างกัน?

bg object1bg object2

ปวดหลังเหมือนกัน แต่การรักษาต่างกัน แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังไขข้อข้องใจ สภาวะหมอนรองกระดูกยื่น และกระดูกสันหลังเคลื่อน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเหมือนกันแต่การรักษาจะต่างกัน ซึ่งการหาสาเหตุของโรคจะนำไปสู่การรักษาที่ตรงจุด

นพ.ธนวัฒน์ อุณหโชค  แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส  เผยว่า ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน หรือ Lumbar spondylolisthesis เป็นภาวะที่มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังข้อหนึ่งไปด้านหน้า หรือด้านหลังมากกว่าปกติ ส่วนมากมักพบบริเวณกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4 และข้อที่ 5 เนื่องจากข้อกระดูกสันหลังส่วนนี้จะต้องแบกรับน้ำหนักส่วนใหญ่ของร่างกาย 

 

ความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันออกไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการปวดหลังบริเวณส่วนล่าง และจะมีอาการแย่ลงหลังการออกกำลังกาย โดยเฉพาะเมื่อมีการบริหารกระดูกบั้นเอว และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย โดยอาการจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่   

 

อาการที่บริเวณหลัง

 

จะปวดหลังเรื้อรัง และมักเกิดในขณะที่มีการเคลื่อนไหวของหลังที่มีการขยับหลังมาก เช่น การก้ม เงย หรือเดิน    

 

อาการที่ขา

 

ปวด ชา ล้า หนักที่บริเวณสะโพกหรือต้นขา 2 ข้าง อาการจะเป็นมากขณะเดิน และจะดีขึ้นเมื่อมีการก้มโค้งหลังหรือได้นั่งพัก ผู้ป่วยบางรายจะรู้สึกว่าระยะทางที่เดินได้จะสั้นลงเรื่อยๆ หากโพรงประสาทตีบแคบมากอาจทำให้การควบคุมระบบขับถ่ายเสียไปได้ 

 

 

ขณะที่ สภาวะหมอนรองกระดูกยื่น เกิดจากหมอนรองกระดูกที่อยู่ระหว่างกระดูกทั้ง 2 ข้อปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาทไขสันหลังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดคอหรือหลัง หากมีการกดทับมากอาจเสี่ยงต่อความพิการได้ 

 

โดยอาการที่แสดงอย่างเด่นชัด คือ อาการปวด ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายก็จะมาด้วยตำแหน่งของการปวดที่ต่างกันไป เช่น ปวดหลังล่าง ปวดบริเวณบั้นเอว หรือสะโพกร้าวลงขา ชา หรือเสียวเหมือนไฟช็อตร้าวลงขา ปวดคอ แขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง มีปัญหาขณะก้มยกของ หรือทรงตัว หากเส้นประสาทถูกกดทับนานจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และระบบขับถ่ายมีปัญหา 

 

แม้ว่าอาการของทั้งสองโรคนี้จะดูคล้ายกันจนแทบแยกไม่ออก แต่ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์เนิร์ฟ มีวิธีการวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกยื่น หรือโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ได้อย่างแม่นยำ  โดยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังจะทำการตรวจประเมินร่างกายเบื้องต้น ซักประวัติผู้ป่วยร่วมกับการทำ X-ray และการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI เพื่อให้แพทย์นำมาใช้ในการวินิจฉัยอาการและยืนยันความผิดปกติที่เกิดขึ้น ตลอดจนสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำ และตรงจุด  

 

การรักษาหมอนรองกระดูกยื่น เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดหลังและรับประทานยาแก้ปวดนานเกิน 1 เดือนแล้วและอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยกล้องเอ็นโดสโคป หรือการเจาะรูส่องกล้อง ด้วยเทคนิค PSLD (Percutaneous Stenoscopic Lumbar Decompression) ที่บริเวณหลัง หรือ เทคนิค PSCD (Percutaneous Stenoscopic Cervical Decompression) ที่บริเวณคอ ซึ่งทั้งสองเทคนิคนี้จะใช้อุปกรณ์ที่มีเลนส์กำลังขยายสูง ที่ติดอยู่ที่บริเวณปลายกล้องเอ็นโดสโคป เปรียบเสมือนดวงตาของแพทย์ ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน แม่นยำ และปลอดภัย สามารถรักษาเฉพาะส่วนที่มีปัญหาโดยที่ไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก ทำให้แผลเล็ก เจ็บน้อย ปลอดภัย ฟื้นตัวเร็ว การรักษาด้วยวิธี MIS-Spine นี้จึงเป็นเรื่องง่ายและเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วย เพราะพักฟื้นเพียงแค่ 1 คืนก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ 

 

ปัจจุบันการรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือกระดูกทับเส้นด้วยเทคนิคการยึดน็อตแบบ TLIF คือ การเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง เพื่อหยุดการเคลื่อนของกระดูกสันหลังของผู้ป่วย และเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังเทียมในผู้ป่วยที่หมอนรองกระดูกเสื่อม ซึ่งในสมัยก่อนจะต้องทำการผ่าตัดแบบเปิดแผล หลังจากนั้นวงการแพทย์ได้มีการพัฒนามาทำการผ่าตัดด้วยเทคนิค MIS TLIF ด้วยการใส่ท่อแล้วเลาะกล้ามเนื้อออกบางส่วน หลังจากนั้นจึงใส่หมอนรองกระดูกเทียมเข้าไป แต่ล่าสุดด้วยเทคโนโลยีใหม่ทำให้การรักษาโรคกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีต่อผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถลดอาการปวดแผลของผู้ป่วยลงเมื่อเทียบกับการรักษาแบบเดิมหลายเท่า ด้วยเทคนิค Full Endo TLIF (Full Endoscopic TLIF) คือ การใช้กล้องเอ็นโดสโคปเพื่อใส่หมอนรองกระดูกเทียมเข้าไป และทำการเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Interbody Fusion) ด้วยสกรูแบบเจาะรู (Percutaneous Screw) ซึ่งวิธีนี้จะตัดกล้ามเนื้อน้อยที่สุด ทำลายโครงสร้างของกระดูกสันหลังน้อยมาก ความเสืี่ยงต่ำ และแตกต่างจากเทคนิคเดิม อีกทั้งยังสามารถลดขนาดของบาดแผล และให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น [ตัวแบ่งการตัดข้อความ] 

 

ทั้งนี้การเจาะและใช้อุปกรณ์ร่วมกันภายในรูเดียว หรือแบบ Full Endo TLIF (Full Endoscopic TLIF) ซึ่งวิธีนี้จะใช้อุปกรณ์กล้องที่มีความพิเศษสูง โดยมีช่องสำหรับใส่เครื่องมือเพื่อเข้าไปทำการรักษา โดยการนำหมอนรองกระดูกที่มีปัญหาออก และยังสามารถเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมได้ภายในรูเดียว โดยที่เครื่องมือนั้นไม่เข้าไปทำลายกล้ามเนื้อโดยตรง บอบช้ำน้อยกว่าการใช้อุปกรณ์แบบ 2 รู และการรักษาด้วยวิธีนี้ ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นเครื่องมือในการรักษาตลอดเวลา และใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2 ชั่วโมง หลังทำการรักษาผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก และภายใน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยสามารถเดินได้คล่องขึ้น ซึ่งการรักษาด้วยเทคนิค Full Endo TLIF (Full Endoscopic TLIF) นี้โรงพยาบาลเอส   ถือเป็นรายแรกในประเทศไทย ที่ใช้เทคนิคนี้แบบเต็มรูปแบบ เพราะเนื่องจากจำเป็นต้องตัดโครงสร้างภายใน โอกาสที่แพทย์จะทำได้จะต้องเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ที่สูงในเรื่องโรคกระดูกสันหลัง ซึ่งหาได้น้อยมาก แต่สำหรับที่โรงพยาบาลเอส ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีจุดแข็งที่โดดเด่นและเด่นชัด คือ มีทีมแพทย์ และพยาบาลเฉพาะทาง โรคปวดหลังที่เกิดจากกระดูกสันหลังและระบบประสาทโดยเฉพาะ ทำให้รู้ลึก รู้จริงและเชี่ยวชาญ สามารถรักษาได้อย่างตรงจุด ประกอบกับการนำเอานวัตกรรมสมัยใหม่จากทั่วโลกเข้ามาช่วยในการรักษา เพื่อตอบโจทย์ผู้ป่วยที่มีเวลาน้อย การฟื้นตัวทำได้เร็วขึ้น ไม่ทรมาน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่กลัวการผ่าตัด 

 

 

โรงพยาบาลเอส ปรึกษา  โทร 02 034 0808 

 

### 

 

ขอขอบคุณที่กรุณาเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ 

 

ภูวนาท เช้าวรรณโณ 092 270 9228 

 

 

 

 

image1

แผลเล็ก เสียเลือดน้อย

ไม่ต้องผ่าตัดแบบเปิดใช้เข็มขนาดเล็ก 1 มิลลิเมตร เจาะเข้าสู่บริเวณที่มีปัญหาทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก เสียเลือดน้อย

Call Icon02-034-0808

อ่านเพิ่มเติม

Share Iconแชร์
Facebook Icon
Line Icon

บริการที่เกี่ยวข้อง

PSCD

PSCD

อาการปวดคอร้าวลงแขน เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทในบริเวณคอถูกกดทับ ทำให้เกิดความเจ็บปวดร้าวไปยังแขน ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาท พบว่ามีอายุน้อยลงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเช่น การใช้คอมพิวเตอร์ หรือการก้มดูโทรศัพท์มือถือในท่าเดิมเป็นเวลานาน การนั่งท่าที่ไม่ถูกต้อง และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ  
PSLD

PSLD

อาการปวดหลังร้าวลงขา เกิดจากการกดทับเส้นประสาทในบริเวณหลังส่วนล่าง ทำให้เกิดความเจ็บปวดที่ร้าวไปยังขา มักพบมากในวัยทำงาน ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมที่ส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดการเสื่อม เช่น การนั่ง หรือยืนในท่าเดิมนานเกินไป การยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้อง ประสบอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลัง และการใช้ร่างกายที่มีแรงกระแทกสูง  
LASER

LASER

โรคหมอนรองกระดูกปลิ้น (Herniated Disc) คือภาวะที่ หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติและอาจกดทับเส้นประสาท พบบ่อยบริเวณ กระดูกสันหลังส่วนเอว (L4-L5, L5-S1) เกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกจากอายุที่มากขึ้น การนั่งนานๆ  ยกของหนักผิดท่า หรือ อุบัติเหตุ  
Full Endo TLIF

Full Endo TLIF

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือ Spondylolisthesis เกิดจากกระดูกสันหลังข้อใดข้อหนึ่ง เลื่อนออกจากแนวกระดูกปกติไปทางด้านหน้า มักเกิดที่กระดูกสันหลังส่วนล่าง โดยเฉพาะบริเวณ L5-S1  พบบ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมสภาพ ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังอ่อนแอลงและเกิดการเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม  
Endoscopic ACDF

Endoscopic ACDF

การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่มีภาวะหมอนรองกระดูกคอเสื่อมรุนแรง หรือ ได้หมอนรองกระดูกสันหลังได้รับความเสียหาย จนสูญเสียความสามารถในการรองรับแรงกระแทก หรือ ปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาท จนมีอาการปวดร้าวลงแขนและมือ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน    
ฉีด Cement

ฉีด Cement

กระดูกสันหลังแตก หัก ยุบ เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังอย่างรุนแรง มักเกิดขึ้นจากการเสื่อมของกระดูก  และ อุบัติเหตุ หรือ การบาดเจ็บที่รุนแรง ทำให้เกิดความเจ็บปวดและมีผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างมาก  พบในคนไข้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และมีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย  
ฉีดยาบล็อกเส้นประสาท SNRB

ฉีดยาบล็อกเส้นประสาท SNRB

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังจากการอักเสบของโพรงประสาทและรากประสาท ซึ่งอาจเกิดจาก หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ ส่งผลให้ปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาทแต่ยังไม่รุนแรง การฉีดยาเข้าโพรงประสาท (SNRB)  เป็นทางเลือกที่ช่วย ลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดได้  
Icon

ปรึกษาทีมงาน

ผู้เชี่ยวชาญตอนนี้

โทรเลย

Call Icon02-034-0808
โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ จอยท์ | S Spine & Joint Hospital

เลขที่ 2102/9 อาคาร A ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310

โทร : 02-034-0808
Facebook IconLine IconTiktok IconYoutube IconInstagram Icon

Copyright © 2025 S Spine and Joint Hospital. All right reserved