ทำไมกระดูกจึงเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย?

bg object1bg object2

กระดูกเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย เนื่องจากกระดูกสันหลังเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่สุด ซึ่งช่วยสนับสนุนให้ร่างกายตั้งตรง ก้ม และบิดตัวได้ ภายในกระดูกมีไขกระดูกที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือด (Blood cell) นอกจากนี้ กระดูกยังเป็นที่เก็บแร่ธาตุแคลเซียมในร่างกาย และช่วยป้องกันเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ทอดอยู่ตามแนวของกระดูก

กระดูกเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย เนื่องจากกระดูกสันหลังเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่สุด ซึ่งช่วยสนับสนุนให้ร่างกายตั้งตรง ก้ม และบิดตัวได้ ภายในกระดูกมีไขกระดูกที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือด (Blood cell) นอกจากนี้ กระดูกยังเป็นที่เก็บแร่ธาตุแคลเซียมในร่างกาย และช่วยป้องกันเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ทอดอยู่ตามแนวของกระดูก

รู้ไหมร่างกายของคนเรามีกระดูกกี่ชิ้น?

 

คำตอบคือ 206 ชิ้น สำหรับผู้ใหญ่ และเด็กมีกระดูก 350 ชิ้น เนื่องจากเมื่อเด็กกำลังอยู่ในช่วงวัยเจริญเติบโต กระดูกหลายชิ้นจำเป็นต้องใช้ในการเชื่อมต่อร่างกาย และเมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ กระดูกสองหรือสามชิ้นจะค่อยๆ รวมตัวกันเป็นชิ้นเดียว

 

รู้จักกระดูกให้ถูกทาง

ในกระดูก 206 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามตำแหน่งที่อยู่ของกระดูก คือ 

  1. กระดูกแกน (Axial Skeleton) เป็นกระดูกที่อยู่บริเวณกลางลำตัว มีทั้งหมด 80 ชิ้น ทำหน้าที่ค้ำจุนพยุงร่างกาย ประกอบด้วย: 

  • กระดูกกะโหลกศีรษะ 29 ชิ้น (ไม่รวมฟัน) 

  • กระดูกสันหลัง 26 ชิ้น 

  • กระดูกซี่โครง 24 ชิ้น 

  • กระดูกหน้าอก 1 ชิ้น 

  1. กระดูกรยางค์ (Appendicular Skeleton) เป็นกระดูกที่ยื่นจากกระดูกแกนออกไป มีทั้งหมด 126 ชิ้น ทำหน้าที่ค้ำจุนพยุงร่างกายและป้องกันอวัยวะภายใน ได้แก่: 

  • กระดูกแขนข้างละ 30 ชิ้น รวม 60 ชิ้น 

  • กระดูกขาข้างละ 30 ชิ้น รวม 60 ชิ้น 

  • กระดูกสะบักข้างละ 1 ชิ้น รวม 2 ชิ้น 

  • กระดูกเชิงกรานข้างละ 1 ชิ้น รวม 2 ชิ้น 

 

  • กระดูกไหปลาร้าข้างละ 1 ชิ้น รวม 2 ชิ้น

image1

ความเชื่อและความจริง 

เรามักเชื่อว่ากระดูกจะเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น แต่ความจริงแล้วแคลเซียมในกระดูกจะมีการสร้างและสลายตัวตลอดเวลา หลังอายุ 30 ปีไปแล้ว แคลเซียมในร่างกายจะสลายตัวมากกว่าสร้างใหม่ ดังนั้นข้อควรระวังคือ ถ้ากระดูกไม่แข็งแรงจะเกิดปัญหาโรคกระดูกเปราะบางหรือกระดูกพรุน ซึ่งจะทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับข้อกระดูกต่างๆ เช่น ข้ออักเสบ ข้อเสื่อม มีอาการปวดหลัง และร่างกายจะเคลื่อนไหวได้ลำบาก 

อาหารบำรุงกระดูก 

อาหารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก ได้แก่: 

  • นมสด 

  • ไข่แดง 

  • ผักใบเขียว 

  • ผลไม้ 

  • อาหารที่มีวิตามินดี เช่น น้ำมันตับปลา 

  • ผักสด 

นอกจากนี้ การออกกำลังกายเป็นประจำก็มีส่วนช่วยพัฒนากระดูกให้แข็งแรงด้วย ส่วนข้อควรระวังคือ อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินไป เพราะอาจทำให้ข้อต่อชำรุดหรือเสื่อมสภาพเร็ว 

โรคที่เกี่ยวกับกระดูก 

มีที่มาจากหลายสาเหตุ เช่น: 

  • พันธุกรรม 

  • เชื้อโรค 

  • สิ่งแวดล้อม 

  • วัยหรืออายุที่เพิ่มขึ้น 

โครงสร้างกระดูกสันหลัง 

กระดูกสันหลังประกอบด้วยกระดูกและกล้ามเนื้อ อยู่บริเวณด้านหลังของลำตัว ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนัก และเชื่อมโยงเส้นประสาทจากสมองถึงเชิงกราน ภายในกระดูกสันหลังมีส่วนที่เรียกว่าไขสันหลังซึ่งมีหน้าที่นำคำสั่งจากสมองไปสู่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย กระดูกสันหลังที่อยู่ด้านนอกมีหน้าที่คอยป้องกันไขกระดูกสันหลังที่อยู่ภายในโพรงกระดูกสันหลังระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีหมอนรองกระดูกคั่นกลางอยู่ 

ลักษณะของหมอนรองกระดูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ: 

  1. หมอนรองกระดูกชั้นใน มีลักษณะคล้ายเจลลี่ หรือ นิวเคลียสพอลโพซัส (Nucleus pulposus) 

  1. หมอนรองกระดูกชั้นนอก มีลักษณะเหมือนถุงห่อหุ้ม เรียกว่า อนุลัสไฟโบรซัส (Annulus fibrosus) 

ความสำคัญของหมอนรองกระดูกคือ มีหน้าที่รับน้ำหนัก ใช้ในการขยับหลังเพื่อก้มหรือแอ่น ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีเส้นประสาทอยู่ภายใน 

รู้เรื่องกระดูกใช้ชีวิตถูกวิธี 

กระดูกสันหลังมี 4 ส่วน: 

  • ส่วนคอ มี 7 ชิ้น / C1-C7 

  • ช่วงอก มี 12 ชิ้น / T1-T12 

  • ช่วงเอว มี 5 ชิ้น / L1-L5 

  • ช่วงเชิงกราน มี 1 ชิ้น 

เมื่ออายุมากขึ้น มีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ เช่น การฉีกขาดของหมอนรองกระดูกชั้นนอกหรือหมอนรองกระดูกชั้นในมีน้ำน้อยลง ทำให้มีคุณสมบัติในการรับน้ำหนักได้น้อยลง ข้อต่อด้านหลังเสื่อม ทำให้หลวมและเกิดการขยับของกระดูกสันหลังมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวด หมอนรองกระดูกที่เสื่อมและเคลื่อนไปทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดร้าวลงขาได้ และหินปูนที่กระดูกสันหลังสามารถงอกและยืดไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุของการปวดอีกอย่างหนึ่ง อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูกสันหลัง

Read More

Share IconShare
Facebook Icon
Line Icon

Related Services

Posterior Cervical Endoscopic Discectomy (PSCD)

Posterior Cervical Endoscopic Discectomy (PSCD)

Neck pain radiating down the arm is typically caused by nerve compression in the cervical spine. Increasingly, younger individuals are being diagnosed with cervical disc herniation due to daily lifestyle habits such as prolonged computer use, looking down at mobile phones for extended periods, poor posture, and injury from accidents. 
Posterior Spinal Lumbar Discectomy (PSLD)

Posterior Spinal Lumbar Discectomy (PSLD)

Lower back pain radiating down the leg often stems from nerve compression in the lumbar spine. This condition is common among working adults and the elderly, as well as those with habits that accelerate spinal degeneration—such as prolonged sitting or standing in the same position, improper lifting techniques, spinal injuries from accidents, and high-impact physical activities. 
LASER

LASER

A herniated disc occurs when an intervertebral disc slips out of its normal position and may press on nearby nerves. This condition commonly affects the lumbar spine, particularly at levels L4-L5 and L5-S1. It typically results from age-related disc degeneration, prolonged sitting, improper lifting techniques, or spinal trauma from accidents. 
Full Endo TLIF

Full Endo TLIF

Spondylolisthesis is a condition in which one vertebra slips forward out of its normal alignment. This commonly occurs in the lower spine, especially at the L5-S1 level. It is frequently found in older adults due to degenerative disc disease, where the weakening of spinal discs leads to instability and vertebral displacement. 
Endoscopic ACDF

Endoscopic ACDF

Endoscopic ACDF is a surgical procedure used to treat severe cervical disc degeneration or disc herniation in the neck. When the disc becomes too damaged to absorb shock or herniates and compresses the spinal nerves, it can cause radiating pain down the arms and hands, significantly affecting daily life. 
Cement Injection

Cement Injection

Vertebral fractures or collapses are serious spinal conditions that typically occur due to bone degeneration, accidents, or severe trauma. These injuries can lead to significant pain and impair mobility. They are mostly seen in patients aged 50 and above, especially those with underlying osteoporosis.
Nerve Root Block Injection (SNRB)

Nerve Root Block Injection (SNRB)

Patients suffering from back pain caused by inflammation of the nerve root or foramen—often due to herniated discs or spinal joint inflammation—may experience radiating pain along the nerve pathway, even if the condition is still in its early stages. In such cases, a Selective Nerve Root Block (SNRB) can help reduce inflammation and alleviate pain effectively.
Icon

Consult the Team

Experts Now

Call Now

Call Icon02-034-0808
โรงพยาบาลเอส สไปน์ | S Spine Hospital

No. 523/1 Praditmanutham Road, Wang Thonglang Subdistrict, Wang Thonglang District, Bangkok 10310

Call : 02-034-0808
Facebook IconLine IconTiktok IconYoutube IconInstagram Icon

Copyright © 2025 S Spine and Joint Hospital. All right reserved