ทำไมกระดูกจึงเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย?

bg object1bg object2

กระดูกเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย เนื่องจากกระดูกสันหลังเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่สุด ซึ่งช่วยสนับสนุนให้ร่างกายตั้งตรง ก้ม และบิดตัวได้

กระดูกเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย เนื่องจากกระดูกสันหลังเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่สุด ซึ่งช่วยสนับสนุนให้ร่างกายตั้งตรง ก้ม และบิดตัวได้

ภายในกระดูกมีไขกระดูกที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือด (Blood Cell) นอกจากนี้กระดูกยังเป็นที่เก็บแร่ธาตุแคลเซียมในร่างกาย และช่วยป้องกันเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ทอดอยู่ตามแนวของกระดูก

 

รู้ไหมร่างกายของคนเรามีกระดูกกี่ชิ้น?

คำตอบ คือ 206 ชิ้น สำหรับผู้ใหญ่ และเด็ก มีกระดูก 350 ชิ้น เนื่องจากเมื่อเด็กกำลังอยู่ในช่วงวัยเจริญเติบโต กระดูกหลายชิ้นจำเป็นต้องใช้ในการเชื่อมต่อร่างกาย และเมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ กระดูกสองหรือสามชิ้นจะค่อยๆ รวมตัวกันเป็นชิ้นเดียว 

 

รู้จักกระดูกให้ถูกทาง

ในกระดูก 206 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามตำแหน่งที่อยู่ของกระดูก คือ 

1. กระดูกแกน (Axial Skeleton) เป็นกระดูกที่อยู่บริเวณกลางลำตัว มีทั้งหมด 80 ชิ้น ทำหน้าที่ค้ำจุนพยุงร่างกาย ประกอบด้วย:

    • กระดูกกะโหลกศรีษะ 29 ชิ้น (ไม่รวมฟัน) 

    • กระดูกสันหลัง 26 ชิ้น 

    • กระดูกซี่โครง 24 ชิ้น 

    • กระดูกหน้าอก 1 ชิ้น 

2. กระดูกรยางค์ (Appendicular Skeleton) เป็นกระดูกที่ยื่นจากกระดูกแกนออกไป มีทั้งหมด 126 ชิ้น ทำหน้าที่ค้ำจุนพยุงร่างกายและป้องกันอวัยวะภายใน ได้แก่: 

    • กระดูกแขน ข้างละ 30 ชิ้น รวม 60 ชิ้น 

    • กระดูกขา ข้างละ 30 ชิ้น รวม 60 ชิ้น 

    • กระดูกสะบัก ข้างละ 1 ชิ้น รวม 2 ชิ้น 

    • กระดูกเชิงกราน ข้างละ 1 ชิ้น รวม 2 ชิ้น 

    • กระดูกไหปลาร้า ข้างละ 1 ชิ้น รวม 2 ชิ้น 

image1

ความเชื่อและความจริง 

 

อาหารบำรุงกระดูก

อาหารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก ได้แก่: 

    • นมสด 

    • ไข่แดง 

    • ผักใบเขียว

    • ผลไม้

    • อาหารที่มีวิตามินดี เช่น น้ำมันตับปลา 

    • ผักสด

นอกจากนี้ การออกกำลังกายเป็นประจำก็มีส่วนช่วยพัฒนากระดูกให้แข็งแรงด้วย 

ส่วนข้อควรระวัง คือ อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินไป เพราะอาจทำให้ข้อต่อชำรุดหรือเสื่อมสภาพเร็ว 

 

โรคที่เกี่ยวกับกระดูก 

มีที่มาจากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม เชื้อโรค สิ่งแวดล้อม หรือ วัย-อายุที่เพิ่มขึ้น 

 

 

โครงสร้างกระดูกสันหลัง 

กระดูกสันหลังประกอบด้วย กระดูกและกล้ามเนื้อ อยู่บริเวณด้านหลังของลำตัว ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนัก และเชื่อมโยงเส้นประสาทจากสมองถึงเชิงกราน ภายในกระดูกสันหลังมีส่วนที่เรียกว่า "ไขสันหลัง" ซึ่งมีหน้าที่นำคำสั่งจากสมองไปสู่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย 

กระดูกสันหลังที่อยู่ด้านนอกมีหน้าที่คอยป้องกัน "ไขกระดูกสันหลัง" ที่อยู่ภายใน "โพรงกระดูกสันหลัง" ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมี "หมอนรองกระดูก" คั่นกลางอยู่ 

 

ลักษณะของ "หมอนรองกระดูก" ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 

1. หมอนรองกระดูกชั้นใน มีลักษณะคล้ายเจลลี่ หรือ นิวเคลียสพอลโพซัส (Nucleus Pulposus)

2. หมอนรองกระดูกชั้นนอก มีลักษณะเหมือนถุงห่อหุ้ม เรียกว่า อนุลัสไฟโบรซัส (Annulus Fibrosus) 

 

ความสำคัญของ "หมอนรองกระดูก" คือ มีหน้าที่รับน้ำหนักในการขยับหลังเพื่อก้มหรือแอ่น ระหว่าง "กระดูกสันหลัง" แต่ละข้อจะมี "เส้นประสาท" อยู่ภายใน 

 

รู้เรื่องกระดูกใช้ชีวิตถูกวิธี

กระดูกสันหลังมี 4 ส่วน : 

    • กระดูกสันหลังส่วนคอ มี 7 ชิ้น / C1-C7

    • กระดูกสันหลังช่วงอก มี 12 ชิ้น / T1-T12 

    • กระดูกสันหลังช่วงเอว มี 5 ชิ้น / L1-L5

    • กระดูกช่วงเชิงกราน มี 1 ชิ้น 

เมื่ออายุมากขึ้น มีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง เช่น การฉีกขาดของ "หมอนรองกระดูกชั้นนอก" หรือ "หมอนรองกระดูกชั้นใน" มีน้ำน้อยลง ทำให้มีคุณสมบัติในการรับน้ำหนักได้น้อยลง ข้อต่อตด้านหลังเสื่อม ทำให้หลวมและเกิดการขยับของกระดูกสันหลังมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวด หมอนรองกระดูกที่เสื่อมและเคลื่อนไปทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดร้าวลงขาได้ทันที และหินปูนที่กระดูกสันหลังสามารถงอกและยืดไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุของการปวดอีกอย่างหนึ่ง อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูกสันหลัง 

 

อ่านเพิ่มเติม

Share Iconแชร์
Facebook Icon
Line Icon

บริการที่เกี่ยวข้อง

PSCD

PSCD

อาการปวดคอร้าวลงแขน เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทในบริเวณคอถูกกดทับ ทำให้เกิดความเจ็บปวดร้าวไปยังแขน ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาท พบว่ามีอายุน้อยลงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเช่น การใช้คอมพิวเตอร์ หรือการก้มดูโทรศัพท์มือถือในท่าเดิมเป็นเวลานาน การนั่งท่าที่ไม่ถูกต้อง และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ  
PSLD

PSLD

อาการปวดหลังร้าวลงขา เกิดจากการกดทับเส้นประสาทในบริเวณหลังส่วนล่าง ทำให้เกิดความเจ็บปวดที่ร้าวไปยังขา มักพบมากในวัยทำงาน ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมที่ส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดการเสื่อม เช่น การนั่ง หรือยืนในท่าเดิมนานเกินไป การยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้อง ประสบอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลัง และการใช้ร่างกายที่มีแรงกระแทกสูง  
LASER

LASER

โรคหมอนรองกระดูกปลิ้น (Herniated Disc) คือภาวะที่ หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติและอาจกดทับเส้นประสาท พบบ่อยบริเวณ กระดูกสันหลังส่วนเอว (L4-L5, L5-S1) เกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกจากอายุที่มากขึ้น การนั่งนานๆ  ยกของหนักผิดท่า หรือ อุบัติเหตุ  
Full Endo TLIF

Full Endo TLIF

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือ Spondylolisthesis เกิดจากกระดูกสันหลังข้อใดข้อหนึ่ง เลื่อนออกจากแนวกระดูกปกติไปทางด้านหน้า มักเกิดที่กระดูกสันหลังส่วนล่าง โดยเฉพาะบริเวณ L5-S1  พบบ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมสภาพ ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังอ่อนแอลงและเกิดการเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม  
Endoscopic ACDF

Endoscopic ACDF

การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่มีภาวะหมอนรองกระดูกคอเสื่อมรุนแรง หรือ ได้หมอนรองกระดูกสันหลังได้รับความเสียหาย จนสูญเสียความสามารถในการรองรับแรงกระแทก หรือ ปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาท จนมีอาการปวดร้าวลงแขนและมือ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน    
ฉีด Cement

ฉีด Cement

กระดูกสันหลังแตก หัก ยุบ เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังอย่างรุนแรง มักเกิดขึ้นจากการเสื่อมของกระดูก  และ อุบัติเหตุ หรือ การบาดเจ็บที่รุนแรง ทำให้เกิดความเจ็บปวดและมีผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างมาก  พบในคนไข้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และมีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย  
ฉีดยาบล็อกเส้นประสาท SNRB

ฉีดยาบล็อกเส้นประสาท SNRB

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังจากการอักเสบของโพรงประสาทและรากประสาท ซึ่งอาจเกิดจาก หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ ส่งผลให้ปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาทแต่ยังไม่รุนแรง การฉีดยาเข้าโพรงประสาท (SNRB)  เป็นทางเลือกที่ช่วย ลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดได้  
Icon

ปรึกษาทีมงาน

ผู้เชี่ยวชาญตอนนี้

โทรเลย

Call Icon02-034-0808
โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ จอยท์ | S Spine & Joint Hospital

เลขที่ 2102/9 อาคาร A ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310

โทร : 02-034-0808
Facebook IconLine IconTiktok IconYoutube IconInstagram Icon

Copyright © 2025 S Spine and Joint Hospital. All right reserved