อาการแบบไหนคือ “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” (Herniated Nucleus Pulposus)

bg object1bg object2

“ปวดหลัง แต่ทำไมร้าวลงที่ขา” คือ สิ่งที่ใครหลายคนอาจสงสัยถึงอาการที่กำลังเกิดขึ้นกับตัว แต่นี่คือหนึ่งในอาการที่เด่นชัดที่สุดของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus) ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่พบมากที่สุดในช่วงวัยทำงาน และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์

“ปวดหลัง แต่ทำไมร้าวลงที่ขา” คือ สิ่งที่ใครหลายคนอาจสงสัยถึงอาการที่กำลังเกิดขึ้นกับตัว แต่นี่คือหนึ่งในอาการที่เด่นชัดที่สุดของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus) ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่พบมากที่สุดในช่วงวัยทำงาน และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์

📚  รู้จักอาการปวดหลังร้าวลงขา 

📚  ปวดหลังเรื้อรัง รักษาได้ 

 

 

เข้าใจโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท 

 

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลังที่ใช้งานมานาน ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการใช้งานร่างกายที่ผิดท่าเป็นเวลานาน เช่น การก้มๆ เงยๆ เป็นประจำ ยกของหนักอย่างไม่ถูกวิธี หรือจากอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลังโดยตรง เมื่อเกิดการเสื่อมสภาพ สารนํ้าหรือเจลลี่ภายในหมอนกระดูกสันหลังจะปลิ้นออกมาไปกดเบียดทับเส้นประสาทที่อยู่ทางด้านหลัง ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ และอาการต่างๆตามมา 

 

 

สัญญาณเตือนของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท 

 

หากคุณพบอาการดังต่อไปนี้ คุณอาจกำลังเผชิญกับโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท 

 

  • ปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง 

  • ปวดหลังเรื้อรังบริเวณเอว เป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน 

  • ปวดหลังร้าวลงขา ตั้งแต่สะโพกไปถึงบริเวณน่องหรือเท้า 

  • ไม่สามารถเดินได้ไกล และมีอาการปวดชาลงไปถึงขาคล้ายเป็นตะคริว ต้องหยุดพัก จึงจะเดินต่อไปได้ 

  • ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจมีภาวะกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง หรือกระดกข้อเท้าไม่ได้ 

  • บางรายอาจมีปัญหาควบคุมระบบการขับถ่าย 

 

 

image1

ระดับความรุนแรงของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

 

🔴 ระยะเริ่มต้น

 

เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังเริ่มมีความเสื่อม จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการ ปวดหลังเรื้อรัง โดยอาการปวดในช่วงแรกอาจเป็นๆ หายๆก่อนจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นความทรมาน

 

 

🔴 ระยะปานกลาง

 

เป็นระยะที่หมอนรองกระดูกสันหลังเริ่มเคลื่อน หรือปลิ้นออกมากดเบียดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดร้าวจากคอไปถึงแขน หรือจากหลังไปถึงขาและเท้า รวมถึงอาจมีอาการชาร่วมด้วย

 

 

🔴 ระยะรุนแรง

 

เมื่อการกดเบียดทับเส้นประสาทรุนแรงขึ้น อาการปวด ชา และอ่อนแรงจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จนเส้นประสาทเกิดการบาดเจ็บและเสี่ยงต่อความพิการถาวรได้ จึงควรได้รับการรักษา หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท โดยทันทีเพราะมีความเสี่ยงที่จะเป็นอัมพาต บางรายปวดหลังมากจนขยับไม่ได้ ขาพับและท่อนล่างไร้ความรู้สึก หรือที่เรียกว่าเป็นอัมพาตแบบเฉียบพลัน

 

 

 

 

📚  รักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคยอดฮิตของคนปวดหลัง

📚  PSLD เทคนิครักษาโรคปวดหลัง แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ปลอดภัย

 

แผลเล็ก เสียเลือดน้อย

ไม่ต้องผ่าตัดแบบเปิดใช้เข็มขนาดเล็ก 1 มิลลิเมตร เจาะเข้าสู่บริเวณที่มีปัญหาทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก เสียเลือดน้อย

Call Icon02-034-0808

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทด้วยเทคโนโลยีทันสมัย 

 

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้าไปอย่างมาก การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทด้วยเทคนิค MIS SPINE (Minimally Invasive Spine Surgery) ที่ทันสมัย แผลผ่าตัดขนาดเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว ทำให้การรักษาโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นเรื่องง่ายและหายเร็ว ความปลอดภัยสูง เสียเลือดน้อย โอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ ช่วยลดการทำลายกล้ามเนื้อของผู้ป่วย และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเร็วยิ่งขึ้น 

 

อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทให้ได้ผลดีที่สุด ขึ้นอยู่กับการเข้ารับการรักษาแต่เนิ่นๆ แต่เมื่อใดที่ปล่อยทิ้งไว้นานๆฝืนและทนต่อความเจ็บปวด โดยไม่เข้ารับการรักษาใดๆ นอกจากอาการชาขาที่เป็นอยู่ อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น อาการขาอ่อนแรงกล้ามเนื้อขาข้างที่ชาจะเริ่มฝ่อลีบ สูญเสียประสาทรับความรู้สึกและสั่งการบางส่วน เดินเซเสี่ยงล้ม และท้ายที่สุด ก็จะเดินไม่ได้อีกต่อไป 

 

 

อ่านเพิ่มเติม

Share Iconแชร์
Facebook Icon
Line Icon

บริการที่เกี่ยวข้อง

PSCD

PSCD

อาการปวดคอร้าวลงแขน เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทในบริเวณคอถูกกดทับ ทำให้เกิดความเจ็บปวดร้าวไปยังแขน ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาท พบว่ามีอายุน้อยลงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเช่น การใช้คอมพิวเตอร์ หรือการก้มดูโทรศัพท์มือถือในท่าเดิมเป็นเวลานาน การนั่งท่าที่ไม่ถูกต้อง และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ  
PSLD

PSLD

อาการปวดหลังร้าวลงขา เกิดจากการกดทับเส้นประสาทในบริเวณหลังส่วนล่าง ทำให้เกิดความเจ็บปวดที่ร้าวไปยังขา มักพบมากในวัยทำงาน ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมที่ส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดการเสื่อม เช่น การนั่ง หรือยืนในท่าเดิมนานเกินไป การยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้อง ประสบอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลัง และการใช้ร่างกายที่มีแรงกระแทกสูง  
LASER

LASER

โรคหมอนรองกระดูกปลิ้น (Herniated Disc) คือภาวะที่ หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติและอาจกดทับเส้นประสาท พบบ่อยบริเวณ กระดูกสันหลังส่วนเอว (L4-L5, L5-S1) เกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกจากอายุที่มากขึ้น การนั่งนานๆ  ยกของหนักผิดท่า หรือ อุบัติเหตุ  
Full Endo TLIF

Full Endo TLIF

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือ Spondylolisthesis เกิดจากกระดูกสันหลังข้อใดข้อหนึ่ง เลื่อนออกจากแนวกระดูกปกติไปทางด้านหน้า มักเกิดที่กระดูกสันหลังส่วนล่าง โดยเฉพาะบริเวณ L5-S1  พบบ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมสภาพ ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังอ่อนแอลงและเกิดการเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม  
Endoscopic ACDF

Endoscopic ACDF

การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่มีภาวะหมอนรองกระดูกคอเสื่อมรุนแรง หรือ ได้หมอนรองกระดูกสันหลังได้รับความเสียหาย จนสูญเสียความสามารถในการรองรับแรงกระแทก หรือ ปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาท จนมีอาการปวดร้าวลงแขนและมือ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน    
ฉีด Cement

ฉีด Cement

กระดูกสันหลังแตก หัก ยุบ เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังอย่างรุนแรง มักเกิดขึ้นจากการเสื่อมของกระดูก  และ อุบัติเหตุ หรือ การบาดเจ็บที่รุนแรง ทำให้เกิดความเจ็บปวดและมีผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างมาก  พบในคนไข้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และมีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย  
ฉีดยาบล็อกเส้นประสาท SNRB

ฉีดยาบล็อกเส้นประสาท SNRB

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังจากการอักเสบของโพรงประสาทและรากประสาท ซึ่งอาจเกิดจาก หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ ส่งผลให้ปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาทแต่ยังไม่รุนแรง การฉีดยาเข้าโพรงประสาท (SNRB)  เป็นทางเลือกที่ช่วย ลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดได้  
Icon

ปรึกษาทีมงาน

ผู้เชี่ยวชาญตอนนี้

โทรเลย

Call Icon02-034-0808
โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ จอยท์ | S Spine & Joint Hospital

เลขที่ 2102/9 อาคาร A ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310

โทร : 02-034-0808
Facebook IconLine IconTiktok IconYoutube IconInstagram Icon

Copyright © 2025 S Spine and Joint Hospital. All right reserved