ตื่นมาก็ปวดหลัง เป็นเพราะอะไร

bg object1bg object2

เมื่อตื่นลุกขึ้นมาก็ปวดหลังแล้ว….เป็นแบบนี้กันบ้างไหม กับอาการตื่นมาก็ปวดหลังแบบไม่ได้ตั้งตัว ตื่นมาจะมีอาการตึงไปทั่วที่แผ่นหลัง โดยเฉพาะ บั้นท้าย และบั้นเอว แต่พอตื่นขึ้นมาสักพักอาการเหล่านี้ก็หายไป

เมื่อตื่นลุกขึ้นมาก็ปวดหลังแล้ว….เป็นแบบนี้กันบ้างไหม กับอาการตื่นมาก็ปวดหลังแบบไม่ได้ตั้งตัว ตื่นมาจะมีอาการตึงไปทั่วที่แผ่นหลัง โดยเฉพาะ บั้นท้าย และบั้นเอว แต่พอตื่นขึ้นมาสักพักอาการเหล่านี้ก็หายไป

การนอนนับว่าเป็นการพักผ่อนร่างกายที่ดีที่สุดของมนุษย์ 

 

ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่เราเหนื่อยล้าจากการทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆมา การนอนจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนคิดถึงเวลาเหนื่อยล้า หลายท่านเคยสังเกตกันบ้างไหม ว่าการนอนเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปวดหลัง ปวดเอว หรือปวดคอ โดยที่เราไม่รู้ตัวเลยว่าเพราะอะไร อาการปวดนั้นเกี่ยวข้องอย่างไรกับการนอน 

 

เมื่อตื่นลุกขึ้นมาก็ปวดหลังแล้ว….เป็นแบบนี้กันบ้างไหม กับอาการตื่นมาก็ปวดหลังแบบไม่ได้ตั้งตัว ตื่นมาจะมีอาการตึงไปทั่วที่แผ่นหลัง โดยเฉพาะ บั้นท้าย และบั้นเอว แต่พอตื่นขึ้นมาสักพักอาการเหล่านี้ก็หายไป หลายท่านคงเคยเป็นกันบ้าง เราลองคิดดูว่าสาเหตุมันเกิดจากอะไร หรือมันเกิดอะไรขึ้นตอนนอน ถ้าเราลองมองย้อนไป สาเหตุอันดับแรกของการตื่นขึ้นมาแล้วปวดหลัง-ปวดเอว คือ ที่นอน หมอน เพราะที่นอนถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นสิ่งที่รองรับแผ่นหลัง หรือร่างกายของเรา และหมอนที่รองรับกระดูกต้นคอ รวมไปถึงท่าทางการนอนของเรา ว่านอนในท่าไหน ถ้านอนผิดท่าก็มักจะมีอาการปวดหลัง ปวดคอ ก็เป็นได้ ต่อมาคือ ความเครียด จากการทำงาน นั่งโต๊ะเป็นเวลานานๆ จนทำให้กล้ามเนื้อเกร็งโดยไม่รู้ตัว เมื่อนอนไปแล้ว ตื่นขึ้นมาอาจทำให้ปวดหลังได้จากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ 

image1

แล้วจะรักษา/ป้องกัน อย่างไรดี ? 

 

เบื้องต้นควรแก้ไขจากสาเหตุที่กล่าวไปเบื้องต้นแล้ว เช่น การลองเปลี่ยนที่นอน ให้เหมาะกับสรีระร่างกายเรา โดยมีความไม่นุ่มเกินไปและไม่แข็งเกินไป อีกทั้งเปลี่ยนท่าทางการนอนให้ถูกวิธี ซึ่งท่านอนตะแคงขวาเป็นท่าที่ดีที่สุด ถ้าเทียบกับการนอนหลับในท่าอื่น ๆ เพราะหัวใจเต้นสะดวกและอาหารจากกระเพาะ ถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทำให้ไม่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานเกินไป และเป็นท่านอนที่ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ดีเลยทีเดียว อีกทั้งยังควรออกกำลังกาย เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และลดความตึงเครียดการหน้าที่ การงานในแต่ละวัน 

 

ปวดหลัง, ป้องกันการปวดหลัง
การป้องกันอาการปวดหลัง

 

หากมีปัญหาเรื่องการตื่นนอนขึ้นมาแล้วปวดหลังอย่างรุนแรง อย่านิ่งนอนใจ การรักษาที่ดีที่สุดควรจะต้องไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น จึงจะสามารถ รักษาโรคได้อย่างตรงสาเหตุมากที่สุด 

ด้วยความห่วงใยจาก รพ. S Spine & Joint โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและข้อ 

แผลเล็ก เสียเลือดน้อย

ไม่ต้องผ่าตัดแบบเปิดใช้เข็มขนาดเล็ก 1 มิลลิเมตร เจาะเข้าสู่บริเวณที่มีปัญหาทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก เสียเลือดน้อย

Call Icon02-034-0808

อ่านเพิ่มเติม

Share Iconแชร์
Facebook Icon
Line Icon

บริการที่เกี่ยวข้อง

PSCD

PSCD

อาการปวดคอร้าวลงแขน เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทในบริเวณคอถูกกดทับ ทำให้เกิดความเจ็บปวดร้าวไปยังแขน ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอกดทับเส้นประสาท พบว่ามีอายุน้อยลงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเช่น การใช้คอมพิวเตอร์ หรือการก้มดูโทรศัพท์มือถือในท่าเดิมเป็นเวลานาน การนั่งท่าที่ไม่ถูกต้อง และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ  
PSLD

PSLD

อาการปวดหลังร้าวลงขา เกิดจากการกดทับเส้นประสาทในบริเวณหลังส่วนล่าง ทำให้เกิดความเจ็บปวดที่ร้าวไปยังขา มักพบมากในวัยทำงาน ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมที่ส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดการเสื่อม เช่น การนั่ง หรือยืนในท่าเดิมนานเกินไป การยกของหนักในท่าที่ไม่ถูกต้อง ประสบอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลัง และการใช้ร่างกายที่มีแรงกระแทกสูง  
LASER

LASER

โรคหมอนรองกระดูกปลิ้น (Herniated Disc) คือภาวะที่ หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติและอาจกดทับเส้นประสาท พบบ่อยบริเวณ กระดูกสันหลังส่วนเอว (L4-L5, L5-S1) เกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกจากอายุที่มากขึ้น การนั่งนานๆ  ยกของหนักผิดท่า หรือ อุบัติเหตุ  
Full Endo TLIF

Full Endo TLIF

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือ Spondylolisthesis เกิดจากกระดูกสันหลังข้อใดข้อหนึ่ง เลื่อนออกจากแนวกระดูกปกติไปทางด้านหน้า มักเกิดที่กระดูกสันหลังส่วนล่าง โดยเฉพาะบริเวณ L5-S1  พบบ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมสภาพ ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังอ่อนแอลงและเกิดการเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม  
Endoscopic ACDF

Endoscopic ACDF

การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ เป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่มีภาวะหมอนรองกระดูกคอเสื่อมรุนแรง หรือ ได้หมอนรองกระดูกสันหลังได้รับความเสียหาย จนสูญเสียความสามารถในการรองรับแรงกระแทก หรือ ปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาท จนมีอาการปวดร้าวลงแขนและมือ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน    
ฉีด Cement

ฉีด Cement

กระดูกสันหลังแตก หัก ยุบ เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังอย่างรุนแรง มักเกิดขึ้นจากการเสื่อมของกระดูก  และ อุบัติเหตุ หรือ การบาดเจ็บที่รุนแรง ทำให้เกิดความเจ็บปวดและมีผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างมาก  พบในคนไข้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และมีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วย  
ฉีดยาบล็อกเส้นประสาท SNRB

ฉีดยาบล็อกเส้นประสาท SNRB

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังจากการอักเสบของโพรงประสาทและรากประสาท ซึ่งอาจเกิดจาก หมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ ส่งผลให้ปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาทแต่ยังไม่รุนแรง การฉีดยาเข้าโพรงประสาท (SNRB)  เป็นทางเลือกที่ช่วย ลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดได้  
Icon

ปรึกษาทีมงาน

ผู้เชี่ยวชาญตอนนี้

โทรเลย

Call Icon02-034-0808
โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ จอยท์ | S Spine & Joint Hospital

เลขที่ 2102/9 อาคาร A ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310

โทร : 02-034-0808
Facebook IconLine IconTiktok IconYoutube IconInstagram Icon

Copyright © 2025 S Spine and Joint Hospital. All right reserved