4 โรคฮิตของคน “ปวดคอ” รู้ก่อนป้องกันได้

bg object1bg object2

แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เตือน  4 โรคกระดูกสันหลังส่วนคอที่พบได้บ่อย ซึ่งสาเหตุมักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น การก้มหน้าเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานาน หรือ การนั่งทำงานในท่าเดิมซ้ำ ๆ ต่อเนื่องหลายชั่วโมง นอกจากนี้ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่มีแรงกระแทกรุนแรงบริเวณคอ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้โครงสร้างกระดูกสันหลังส่วนคอและเส้นประสาทบริเวณนี้เสียหาย ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในระยะยาวได้

แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เตือน  4 โรคกระดูกสันหลังส่วนคอที่พบได้บ่อย ซึ่งสาเหตุมักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น การก้มหน้าเล่นโทรศัพท์เป็นเวลานาน หรือ การนั่งทำงานในท่าเดิมซ้ำ ๆ ต่อเนื่องหลายชั่วโมง นอกจากนี้ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่มีแรงกระแทกรุนแรงบริเวณคอ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้โครงสร้างกระดูกสันหลังส่วนคอและเส้นประสาทบริเวณนี้เสียหาย ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในระยะยาวได้ 

 

ก่อนจะไปรู้จักกับ  โรคยอดฮิตเหล่านี้ มาดูกันว่ากระดูกสันหลังส่วนคอมีความสำคัญอย่างไร 

กระดูกสันหลังส่วนคอ เป็นโครงสร้างสำคัญที่เชื่อมระหว่างศีรษะและลำตัว ประกอบด้วยกระดูก 7 ข้อ เรียงจากฐานกะโหลกศีรษะถึงแนวไหล่ ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักศีรษะประมาณ 4-6 กิโลกรัม และช่วยให้ศีรษะเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง เช่น ก้ม เงย หันซ้าย-ขวา และหมุน อีกทั้ง ยังปกป้องไขสันหลังและเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของแขน มือ และกล้ามเนื้อคอ     

ด้วยโครงสร้างที่เล็กและซับซ้อน โดยมีส่วนประกอบของ ข้อต่อ หมอนรองกระดูก และเส้นประสาท จึงทำให้ กระดูกสันหลังส่วนคอ มีความสำคัญ หากไม่ดูแลป้องกันอาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังส่วนคอได้ 

image1

1.โรคข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม 

เกิดจากภาวะเสื่อมสภาพของข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนคอที่เชื่อมกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่ลดแรงเสียดทานระหว่างการเคลื่อนไหว แต่เมื่อข้อต่อเสื่อมสภาพจากการใช้งาน กระดูกอ่อนที่บุข้อต่ออาจบางลง ทำให้เกิดแรงเสียดทานสูงระหว่างกระดูกสันหลัง 

การเสื่อมสภาพของข้อต่อกระดูกสันหลังคอ อาจกระตุ้นให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองจนเกิดกระดูกงอก หรือการสะสมของหินปูนบริเวณข้อต่อ แม้กระดูกงอกจะช่วยเสริมความมั่นคง แต่ในบางกรณีกลับกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง การอักเสบเรื้อรัง หรือ แรงกดซ้ำ ๆ ยังอาจทำให้เกิดหินปูนสะสมรอบข้อต่อ ลดความยืดหยุ่น และเพิ่มความรุนแรงของอาการ 

 

อาการโรคข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม 

ผู้ป่วยมักมีอาการปวดบริเวณต้นคอ รู้สึกฝืดหรือขยับคอได้ลำบาก โดยเฉพาะหลังตื่นนอน หรือ หลังการใช้งานคอหนัก เช่น การนั่งทำงานนาน ๆ หรือการเคลื่อนไหวคอในท่าซ้ำ ๆ หากโรครุนแรง อาการปวดอาจร้าวลงไปยังไหล่ แขน หรือ มือ และอาจเกิดอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณนั้นได้ในกรณีที่เส้นประสาท หรือ ไขสันหลังถูกกดทับจากกระดูกงอก หรือ หินปูนที่สะสมอยู่ในข้อต่อ 

 

2. หมอนรองกระดูกคอเคลื่อน หรือ หมอนรองกระดูกคอปลิ้น   

หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอ หรือ ที่เรียกสั้น ๆ ว่า หมอนรองกระดูกคอ เป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่เป็นตัวกันกระแทกระหว่างกระดูกคอแต่ละข้อ ช่วยรองรับแรงกดและเพิ่มความยืดหยุ่นในการเคลื่อนไหว เช่น การก้ม เงย หรือ หมุนศีรษะ โดยมีแกนเจลด้านในที่ทำหน้าที่กระจายแรงกดจากการเคลื่อนไหว และลดแรงกระแทก เพื่อป้องกันไม่ให้แรงนั้นส่งผลโดยตรงต่อกระดูกคอ 

แต่เมื่อหมอนรองกระดูกคอเสื่อมสภาพ หรือ ฉีกขาด เนื้อเยื่อผนังชั้นนอก (Annulus Fibrosus) ที่หุ้มแกนเจลด้านในจะสูญเสียความแข็งแรงและยืดหยุ่น ทำให้แกนเจลด้านในเคลื่อนตัว หรือ ปลิ้นออกจากตำแหน่งเดิม โครงสร้างที่เสียสมดุลนี้ อาจส่งผลให้หมอนรองกระดูกคอไปกดทับเส้นประสาท ไขสันหลัง หรือ เนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง 

 

อาการหมอนรองกระดูกคอเคลื่อน หรือ หมอนรองกระดูกคอปลิ้น 

เริ่มจากอาการปวดร้าวจากบริเวณคอลงไปยังแขนหรือปลายนิ้ว ซึ่งบางรายอาจมีอาการชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย หากหมอนรองกระดูกที่เสื่อมกดทับใกล้บริเวณไขสันหลัง อาการอาจรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว และระบบประสาทส่วนล่าง เช่น การควบคุมระบบขับถ่ายผิดปกติ หรือ สูญเสียการทรงตัว 

 

แผลเล็ก เสียเลือดน้อย

ไม่ต้องผ่าตัดแบบเปิดใช้เข็มขนาดเล็ก 1 มิลลิเมตร เจาะเข้าสู่บริเวณที่มีปัญหาทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก เสียเลือดน้อย

Call Icon02-034-0808

 

หมอนรองกระดูกปลิ้น: เมื่อความเจ็บปวดคุกคามคุณภาพชีวิต 

หยุดทรมานจากโรคหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท ด้วยเทคนิค PSCD

 

3. โพรงกระดูกสันหลังส่วนคอตีบแคบ   

เกิดจากภาวะที่มีการตีบแคบลงของโพรงที่เป็นช่องตลอดความยาวภายในกระดูกสันหลังส่วนคอแคบลง จนเกิดการกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง ภาวะนี้มักเกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกและหมอนรองกระดูกตามวัย สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ การเกิดกระดูกงอกเพื่อตอบสนองต่อแรงเสียดสีของกระดูก การเสื่อมของหมอนรองกระดูกที่ยุบตัวลง หรือ การปลิ้นของหมอนรองที่เบียดช่องโพรงกระดูก 

นอกจากนี้ ภาวะนี้ยังอาจเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกตั้งแต่กำเนิด หรือ ปัจจัยทางพันธุกรรมที่ทำให้ช่องโพรงกระดูกแคบผิดปกติ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการได้ตั้งแต่อายุยังน้อย และอาจรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการเสื่อมสภาพตามวัย 

 

อาการโพรงกระดูกสันหลังส่วนคอตีบแคบ 

เมื่อโพรงกระดูกแคบลงจนกดทับเส้นประสาท หรือ ไขสันหลัง ส่งผลให้การส่งสัญญาณประสาทผิดปกติ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดคอร้าวลงไปที่แขนหรือขา รู้สึกชา หรือ เหมือนถูกเข็มทิ่มตามแนวเส้นประสาท บางรายอาจมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เคลื่อนไหวลำบาก และคอแข็งจนไม่สามารถก้มเงยหรือหมุนคอได้ตามปกติ 

โรคที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะมีแนวทางการรักษาที่คล้ายกันขึ้นอยู่กับอาการของโรค โดยส่วนใหญ่จะเริ่มรักษาจากน้อยไปมาก ตั้งแต่กายภาพ ทานยา ฉีดยาแก้ปวด แต่หากต้องผ่าตัดควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป 

 

4. กระดูกสันหลังส่วนคอเคลื่อน 

เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังส่วนคอเลื่อนออกจากตำแหน่งปกติ ส่งผลให้โครงสร้างกระดูกสันหลังส่วนคอเสียสมดุล การเคลื่อนของกระดูกอาจเกิดได้ทั้งในลักษณะเลื่อนไปข้างหน้า (Anterolisthesis) หรือ เลื่อนไปด้านหลัง (Retrolisthesis) ขึ้นอยู่กับระดับความเสียหายของโครงสร้างสำคัญ เช่น ข้อต่อกระดูก (Facet Joint), หมอนรองกระดูก (Intervertebral Disc) และเส้นเอ็นที่ทำหน้าที่ยึดกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งเดิม 

เมื่อโครงสร้างเหล่านี้ เกิดความเสียหายหรือไม่สามารถรองรับแรงกระแทกและแรงกดได้ กระดูกจึงเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งเดิม การเคลื่อนดังกล่าวอาจทำให้เกิดแรงกดทับบริเวณเส้นประสาทหรือไขสันหลัง ส่งผลต่อการทำงานของระบบกระดูกและเส้นประสาทในระยะยาว 

 

อาการกระดูกสันหลังคอเคลื่อน 

อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดต้นคอร้าวไปยังหัวไหล่ บ่า สะบักหลังบน แขน  หรือนิ้วมือ หากการกดทับเกิดที่ไขสันหลัง อาจส่งผลกระทบรุนแรง เช่น การสูญเสียการทรงตัว ความผิดปกติของระบบขับถ่าย หรือ สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อในร่างกายส่วนล่าง  

กระดูกสันหลังส่วนคอเคลื่อน มีความแตกต่างจากหมอนรองกระดูกคอเคลื่อนอย่างชัดเจน ในด้านการรักษา โดยเฉพาะในกรณีที่กระดูกเคลื่อนออกจากตำแหน่ง ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างกระดูกสันหลัง การรักษามักจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเพื่อเชื่อมกระดูกเข้าด้วยกัน เพื่อฟื้นฟูความมั่นคงและการทำงานของกระดูกสันหลัง 

 

รู้ก่อน รักษาหายได้ 

อาการปวดคอหรือหลัง สามารถบรรเทาได้ในบางกรณี เช่น การนวดเพื่อช่วยคลายความตึงของกล้ามเนื้อจากการใช้งานหนัก แต่การนวดไม่สามารถแก้ไขความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกสันหลัง หรือ เส้นประสาทได้ หากอาการปวดเกิดจากภาวะที่รุนแรง เช่น หมอนรองกระดูกคอปลิ้น กระดูกสันหลังเคลื่อน หรือ โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ การนวดที่ไม่เหมาะสม หรือการบิดดัด โดยไม่มีการประเมินจากแพทย์ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ 

ดังนั้น การป้องกันตั้งแต่เริ่มต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การปรับพฤติกรรมการใช้งานคอ หลีกเลี่ยงการก้มคอนาน ๆ รวมถึงดูแลสุขภาพร่างกายด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หากมีสัญญาณอาการผิดปกติ   ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวินิจฉัยและรักษาได้อย่างถูกต้อง   

 

 

Read More

Share IconShare
Facebook Icon
Line Icon

Related Services

Posterior Cervical Endoscopic Discectomy (PSCD)

Posterior Cervical Endoscopic Discectomy (PSCD)

Neck pain radiating down the arm is typically caused by nerve compression in the cervical spine. Increasingly, younger individuals are being diagnosed with cervical disc herniation due to daily lifestyle habits such as prolonged computer use, looking down at mobile phones for extended periods, poor posture, and injury from accidents. 
Posterior Spinal Lumbar Discectomy (PSLD)

Posterior Spinal Lumbar Discectomy (PSLD)

Lower back pain radiating down the leg often stems from nerve compression in the lumbar spine. This condition is common among working adults and the elderly, as well as those with habits that accelerate spinal degeneration—such as prolonged sitting or standing in the same position, improper lifting techniques, spinal injuries from accidents, and high-impact physical activities. 
LASER

LASER

A herniated disc occurs when an intervertebral disc slips out of its normal position and may press on nearby nerves. This condition commonly affects the lumbar spine, particularly at levels L4-L5 and L5-S1. It typically results from age-related disc degeneration, prolonged sitting, improper lifting techniques, or spinal trauma from accidents. 
Full Endo TLIF

Full Endo TLIF

Spondylolisthesis is a condition in which one vertebra slips forward out of its normal alignment. This commonly occurs in the lower spine, especially at the L5-S1 level. It is frequently found in older adults due to degenerative disc disease, where the weakening of spinal discs leads to instability and vertebral displacement. 
Endoscopic ACDF

Endoscopic ACDF

Endoscopic ACDF is a surgical procedure used to treat severe cervical disc degeneration or disc herniation in the neck. When the disc becomes too damaged to absorb shock or herniates and compresses the spinal nerves, it can cause radiating pain down the arms and hands, significantly affecting daily life. 
Cement Injection

Cement Injection

Vertebral fractures or collapses are serious spinal conditions that typically occur due to bone degeneration, accidents, or severe trauma. These injuries can lead to significant pain and impair mobility. They are mostly seen in patients aged 50 and above, especially those with underlying osteoporosis.
Nerve Root Block Injection (SNRB)

Nerve Root Block Injection (SNRB)

Patients suffering from back pain caused by inflammation of the nerve root or foramen—often due to herniated discs or spinal joint inflammation—may experience radiating pain along the nerve pathway, even if the condition is still in its early stages. In such cases, a Selective Nerve Root Block (SNRB) can help reduce inflammation and alleviate pain effectively.
Icon

Consult the Team

Experts Now

Call Now

Call Icon02-034-0808
โรงพยาบาลเอส สไปน์ | S Spine Hospital

No. 523/1 Praditmanutham Road, Wang Thonglang Subdistrict, Wang Thonglang District, Bangkok 10310

Call : 02-034-0808
Facebook IconLine IconTiktok IconYoutube IconInstagram Icon

Copyright © 2025 S Spine and Joint Hospital. All right reserved