ไอ-จามแรงทำหมอนรองกระดูกแตกได้ !


คุณรู้หรือไม่ว่า การไอหรือจามแรงๆ มีโอกาสทำให้หมอนรองกระดูกแตกได้ การไอและจามเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้ามาในระบบทางเดินหายใจ
คุณรู้หรือไม่ว่า การไอหรือจามแรงๆ มีโอกาสทำให้หมอนรองกระดูกแตกได้ การไอและจามเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้ามาในระบบทางเดินหายใจ
ร่างกายจะขจัดหรือขับสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดการระคายเคืองออกทางจมูกและปากอย่างแรงและเร็ว ซึ่งมักเกิดจากสิ่งแปลกปลอมเข้าไปภายในโพรงจมูก เช่น ควัน ฝุ่น หรือสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุโพรงจมูก จนทำให้เราต้องจามออกมา ในขณะที่จามจะเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าอกและกะบังลมอย่างฉับพลัน
แม้ว่าเรื่องไอหรือจามจะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าหากคุณไอหรือจามแรงๆ อาจส่งผลให้หมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณหลังล่างแตกได้ นอกจากการนั่งนาน การก้มยกของ และการเกิดอุบัติเหตุ การไอจามแรงๆ ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณหลังล่างแตกได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีหมอนรองกระดูกเสื่อมอยู่แล้ว อาจทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นทับเส้นประสาท เกิดอาการปวดหลังล่างร้าวลงขาและมีอาการชาร่วมด้วย

การไอจามแรงๆ ทำให้หมอนรองกระดูกแตกได้อย่างไร?
การไอหรือจามแรงๆ ในแต่ละครั้ง แม้ว่าคุณจะไอหรือจามเบาๆ จะมีอัตราความเร็วประมาณ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่หากคุณจามแรงๆ จะทำให้อัตราความเร็วสูงถึง 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้นเมื่อไอหรือจามแรงๆ ในแต่ละครั้ง จะทำให้เกิดแรงดันในช่องปอดและช่องท้องเพิ่มขึ้นจากการหดตัวอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อที่อยู่รายรอบลำตัว ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณหลังล่างซึ่งมีหน้าที่รับแรงกระแทก ทำงานหนักขึ้นและเกิดแรงดันที่หมอนรองกระดูกแบบฉับพลัน
วิธีป้องกันการกระทบกระดูกสันหลังขณะไอจาม
เพื่อหลีกเลี่ยงแรงกระทบกระดูกสันหลัง เวลาไอหรือจามควรฝึกเกร็งหน้าท้องไว้ เพื่อให้หน้าท้องรับภาระน้ำหนักแทนกระดูกสันหลัง จะทำให้กระดูกสันหลังรับน้ำหนักน้อยลงและไม่เกิดภาวะหมอนรองกระดูกแตกหรือหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นได้
แผลเล็ก เสียเลือดน้อย
ไม่ต้องผ่าตัดแบบเปิดใช้เข็มขนาดเล็ก 1 มิลลิเมตร เจาะเข้าสู่บริเวณที่มีปัญหาทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก เสียเลือดน้อย
02-034-0808ข้อควรปฏิบัติหากไอ-จามแล้วปวดหลัง
-
การใช้ยาแก้ปวด: หากอาการไม่รุนแรงหรืออยู่ในระยะเริ่มต้น แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการใช้ยาแก้ปวด
-
กายภาพบำบัด: หากมีอาการปวดเมื่อย แพทย์จะแนะนำให้กายภาพบำบัดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
-
ฉีดยาระงับความปวด: หากการกินยาแก้ปวดหรือกายภาพบำบัดไม่หาย การฉีดยาเพื่อระงับความปวดเข้าที่โพรงประสาทเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดอาการปวดหลังได้
-
การผ่าตัด: หากอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 4 – 6 สัปดาห์และมีอาการปวดร้าวลงขา แพทย์จะวินิจฉัยจากผลตรวจ X-ray และ MRI หากพบว่าเส้นประสาทถูกกดทับ แพทย์จะพิจารณารักษาโดยวิธีผ่าตัด ปัจจุบันมีวิธีการรักษาด้วยการเจาะรูส่องกล้องด้วยเทคนิค PSLD (Percutaneous Stenoscopic Lumbar Decompression)
หากคุณมีอาการปวดหลังไม่หาย ที่โรงพยาบาลเอส เรามีทีมแพทย์ที่พร้อมดูแลและค้นหาสาเหตุอาการปวดของคุณ
Share